• หน้าแรก

  • ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี

  • ข้อแนะนำการเขียนรายงานผู้สอบบัญชีในการปรับปรุงข้อผิดพลาดตามพระราชบัญญัติ ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562

ข้อแนะนำการเขียนรายงานผู้สอบบัญชีในการปรับปรุงข้อผิดพลาดตามพระราชบัญญัติ ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562

  • หน้าแรก

  • ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี

  • ข้อแนะนำการเขียนรายงานผู้สอบบัญชีในการปรับปรุงข้อผิดพลาดตามพระราชบัญญัติ ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562

ข้อแนะนำการเขียนรายงานผู้สอบบัญชีในการปรับปรุงข้อผิดพลาดตามพระราชบัญญัติ ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562

          จากการที่กรมสรรพากรได้ออกพระราชบัญญัติ ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ในกรณีดังกล่าว เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเขียนรายงานของผู้สอบบัญชี คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการสอบบัญชีได้มีข้อแนะนำว่า มาตรฐานการสอบบัญชีได้กำหนดรูปแบบและวิธีการเขียนรายงานผู้สอบบัญชีไว้แล้ว ซึ่งหากกิจการมีการปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังอย่างเหมาะสมและเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างครบถ้วนตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้สอบบัญชีสามารถเพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ (โดยไม่กระทบต่อรูปแบบของความเห็นของผู้สอบบัญชีที่มีอยู่เดิม) เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์ดังกล่าวและอ้างอิงถึงพระราชบัญญัติ ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีสามารถดูหลักเกณฑ์การเขียนวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ได้จากมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 706 (ปรับปรุง) เรื่อง วรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์และวรรคเรื่องอื่นในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สภาวิชาชีพบัญชีได้เผยแพร่ตัวอย่างประกอบความเข้าใจสำหรับการเขียนรายงานผู้สอบบัญชี ในกรณีสามารถระบุจำนวนข้อผิดพลาดได้ คลิก 👉 http://bit.ly/2GiD8s4

          อย่างไรก็ตาม สภาวิชาชีพบัญชีได้เผยแพร่ตัวอย่างประกอบความเข้าใจสำหรับการเขียนรายงานผู้สอบบัญชีในกรณีไม่สามารถปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังได้ คลิก 👉 http://bit.ly/2If1kOg

โพสต์เมื่อ :
1 เม.ย. 2562 16:41:35
 7644
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์