เมื่อช่วงต้นปี 2559 หลายท่านคงเคยได้ยินว่ากรมสรรพากร ได้เปิดให้มีการจดแจ้ง แก่ผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยให้กิจการเหล่านั้น ทำการลงทะเบียน แล้วทำการปรับปรุงทางบัญชีในรายงานทางการเงินปี 2558 เพื่อให้งบแสดงฐานะการเงินณ วันที่ 1 มกราคม 2559 สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ดำเนินการจดแจ้ง เพื่อให้ได้รับสิทธิต่าง ๆ ตามพระราชกำหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 เช่น การได้รับยกเว้นการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินภาษี สำหรับเหตุการณ์รายการทางการค้าซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 เพื่อให้ได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559 และได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 แต่ยังมีอีกหลายกิจการที่จดแจ้งแต่มิได้ดำเนินการปรับปรุงรายการทางบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ
การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการนั้น เป็นแนวทางที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E–payment) ซึ่งมีประโยชน์ต่อประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหากมองในมุมมองเล็ก ๆ ง่าย ๆ ว่าในอนาคตทุกกิจการจะต้องก้าวเข้าสู่ระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E–payment) หมายถึงการไม่ใช้เงินสดการเริ่มต้น ทุกกิจการจะต้องนำเงินสดตามที่แสดงไว้ในงบแสดงฐานะการเงินของกิจการเป็นจุดตั้งต้น ดังนั้น หากในวันนี้กิจการยังมิได้จัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ สินทรัพย์และหนี้สิน ในงบแสดงฐานะการเงินยังมิได้แสดงตามความเป็นจริง ท่านจะสามารถเริ่มต้นเข้าสู่ระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E–payment) ได้อย่างไร
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2562 ได้เกิดความร่วมมือกัน ระหว่าง 5 หน่วยงาน สภาวิชาชีพบัญชี กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ทำบันทึกว่าด้วยการสนับสนุนและกำกับดูแลผู้ประกอบการให้จัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ โดยกรมสรรพากรได้เสนอ “มาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ” ซึ่งถือเป็นโอกาสอีกครั้ง ที่กิจการสามารถทำการปรับปรุงรายการทางบัญชีเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องเพื่อกิจการจะสามารถจัดทำบัญชีสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการได้ต่อไป เรามาศึกษาถึงคุณสมบัติ สิทธิประโยชน์ และวิธีการกันนะคะ
ผู้ประกอบการที่จะได้รับสิทธิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
หากกิจการของท่านมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว จะได้สิทธิประโยชน์และต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
โดย..นางสาวโนรา โพธิ์มัจฉา |