ในปี 2566 มาตรฐานการบริหารคุณภาพ 2 ฉบับ จะมีผลบังคับใช้ในประเทศไทย ได้แก่ มาตรฐานการบริหารคุณภาพฉบับที่ 1 และมาตรฐานการบริหารคุณภาพ ฉบับที่ 2 โดยสภาวิชาชีพบัญชีได้จัดเสวนาเพื่อสื่อสารและเตรียมความพร้อมให้สำนักงานสอบบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีจึงขอนำประเด็นสำคัญจากงานเสวนาและมาตรฐานฉบับดังกล่าวมานำเสนอเพื่อเป็นประโยชน์แก่สมาชิกอีกครั้ง
TFAC Tips – Quality Management Ep.6 "กระบวนการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Process: RAP) ถือเรื่องใหม่ในมาตรฐานการบริหารคุณภาพ (TSQM) และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่จะทำให้สำนักงานสอบบัญชีเห็นเป้าหมายและวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพของตัวเอง (Quality Objectives) เห็นความเสี่ยง (Quality Risk) และวิธีการแก้ปัญหานั้น (Response to risk)ถึงแม้ว่า RAP จะเป็นเรื่องใหม่ แต่จริง ๆ แล้ว TSQC 1 ก็ได้กำหนดให้สำนักงานทำการประเมินความเสี่ยงด้านคุณภาพในหลาย ๆ องค์ประกอบอยู่แล้ว โดยสำนักงานอาจจะมอง RAP ใน TSQM เสมือนอากาศที่ไหลเวียนไปทั่วทุกจุดของบ้านที่ขาดไม่ได้ และช่วยให้ทุกๆคนที่อยู่ในบ้านปลอดภัย โดยหากสำนักงานทำความเข้าใจถึงเงื่อนไข เหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพได้อย่างรอบด้าน จะส่งผลให้สำนักงานมองเห็นภาพรวมในด้านความเสี่ยง และสามารถประเมินความเสี่ยงในทุกองค์ประกอบของระบบการบริหารคุณภาพสำนักงาน ซึ่งจะช่วยให้สำนักงานสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ตรงจุดและทำให้ระบบการบริหารคุณภาพสำนักงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล"โดย.. คุณบุญเรือง เลิศวิเศษวิทย์- หุ้นส่วนสายงานสอบบัญชี บริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด- กรรมการในคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการสอบบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี- กรรมการในคณะทำงานศูนย์ติดตามความก้าวหน้าและการพัฒนาคู่มือ ISQM และกิจการพิเศษ สภาวิชาชีพบัญชี[งาน Focus Group คู่มือมาตรฐานการบริหารคุณภาพ (ISQM) วันที่ 27 สิงหาคม 2564]