• หน้าแรก

  • ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี

  • สภาวิชาชีพบัญชีเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและโครงการควบคุมการส่งออกและรักษาความมั่นคงชายแดน (The Department of State’s Export Control and Border Security (EXBS) Program)

สภาวิชาชีพบัญชีเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและโครงการควบคุมการส่งออกและรักษาความมั่นคงชายแดน (The Department of State’s Export Control and Border Security (EXBS) Program)

  • หน้าแรก

  • ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี

  • สภาวิชาชีพบัญชีเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและโครงการควบคุมการส่งออกและรักษาความมั่นคงชายแดน (The Department of State’s Export Control and Border Security (EXBS) Program)

สภาวิชาชีพบัญชีเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและโครงการควบคุมการส่งออกและรักษาความมั่นคงชายแดน (The Department of State’s Export Control and Border Security (EXBS) Program)


           เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและโครงการควบคุมการส่งออกและรักษาความมั่นคงชายแดน (The Department of State’s Export Control and Border Security (EXBS) Program) ณ โรงแรม JW Marriot 4 Sukhumvit Road Soi 2 โดยมีนางสาวสุพาพรรณ คำสุวรรณ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน นางสาวรุณีย์ ผลาขจรศักดิ์ ผู้ชำนาญการ ฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วยนางสาวณภัทร เลี่ยมสมบูรณ์ เจ้าหน้าที่งานต่างประเทศ เข้าร่วมในฐานะผู้แทนของสภาวิชาชีพบัญชี ร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
           การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารแนวทางปฏิบัติที่ดีในการควบคุมการส่งออกและการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการคว่ำบาตรจาก US EU และ UK (Best Practices in Export Controls and Sanctions Risk Management) ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศ อาทิ U.S. export controls regulated by The U.S. Bureau of Industry and Security (BIS) เป็นต้น อีกทั้งจากกรณีศึกษาของบริษัทในประเทศที่ถูกคว่ำบาตรทำให้ทราบถึงวิธีการที่บริษัทเหล่านั้นใช้หลีกเลี่ยงมาตรการควบคุมการส่งออก เช่น การใช้บริษัทที่ว่างเปล่า (Shell Companies) ทำธุรกรรม หรือใช้บริษัทอื่นมาเป็นตัวกลางในการสั่งสินค้า ฯลฯ
           นอกจากนี้ ยังได้รับทราบถึงปัจจัยที่ใช้ในการระบุบริษัทที่อาจฝ่าฝืนข้อกำหนดเกี่ยวกับการส่งออกหรือไปข้องเกี่ยวกับบริษัทที่อยู่ใน Sanction List (Red Flags: Company Identifiers) เช่น วันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โครงสร้างการถือหุ้น รูปแบบรายการค้า ฯลฯ และได้รับทราบถึงเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้สืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูล อาทิเช่น Consolidated Screening List (CSL) Search และ ClearView (Web-based Search and Data Visualization Platform) เป็นต้น
โพสต์เมื่อ :
13 ธ.ค. 2567 13:57:35
 45
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์