สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปภัมภ์ โดยคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาวิชาชีพบัญชี ได้เล็งเห็นถึงทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี โดยวิธีการศึกษาความรู้ต่อเนื่องด้วยตนเองหรือ Self- study CPD ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ทบทวนความรู้ด้วยตนเองและมีความเข้าใจจนสามารถผ่านการทดสอบวัดความรู้ได้ถือว่าเป็นการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องได้เช่นกันนั้น
สภาวิชาชีพบัญชี ฯ ได้จัดการทดสอบโครงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องโดยการศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study CPD) ครั้งที่1/2557 เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 13.00-17.00 น. ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
- มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 87 ราย
- ผู้ผ่านการทดสอบคิดเป็น 100% จากคะแนนร้อยละ 60 ของจำนวนข้อสอบทั้งหมด 120 ข้อ
- ผู้ที่ทำคะแนนได้สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 98.33
- ผู้ที่ทำคะแนนได้น้อยสุด คิดเป็นร้อยละ 72.50
ตัวอย่างข้อสอบที่ใช้ทดสอบครั้งนี้
1. ข้อใดไม่ใช่หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
1. ภาษีที่ถูกประเมินเพิ่มเติม
2. การค้ำประกันหนี้สินให้ผู้อื่น
3. คดีความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
4. หนี้สินค่ารับประกันคุณภาพสินค้า
2. รายการใดต่อไปนี้ไม่สมควรที่จะเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
1. ผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นแต่ไม่สามารถประมาณการมูลค่าได้อย่างแน่นอน
2. หนี้สินอันอาจจะเกิดขึ้นจากกฎหมายสิ่งแวดล้อม แต่ไม่สามารถประมาณการมูลค่าได้อย่างแน่นอน
3. การค้ำประกันหนี้สิน
4. หนี้สินจากการรื้อถอนเครื่องจักรที่ติดตั้งในมหาสมุทรที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต
3. กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อคำว่า ผลตอบแทน
ในความหมายนี้หมายถึงข้อใด
1. ผลตอบแทน จากการใช้สินค้านั้นเพื่อหารายได้
2. ผลตอบแทน ที่จะได้รับจากการขายสินค้านั้น
3. ผลตอบแทน จากฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
4. ผลตอบแทน ที่เป็นตัวเงินที่วัดมูลค่าได้แน่นอน
4. กิจการปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อเพิ่มมูลค่ายุติธรรมและความสามารถในการผลิตเป็นจำนวนร้อยละ 25 โดยไม่เพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องจักร ต้นทุนของการปรับปรุงควรบันทึกอย่างไร
1. บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
2. บันทึกโดยเดบิตบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม
3. บันทึกรวมเป็นต้นทุนของเครื่องจักร
4. บันทึกโดยจัดสรรระหว่างค่าเสื่อมราคาสะสมและบัญชีเครื่องจักร
5. ข้อใดไม่ใช่ข้อกำหนดให้เปิดเผยในงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) เรื่องสินค้าคงเหลือ
1. มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น
2. นโยบายการบัญชีที่ใช้ในการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ และวิธีที่ใช้คำนวณราคาทุน
3. วิธีการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่เข้าสู่ต้นทุนแปลงสภาพ
4. มูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สิน