เสวนานานาชาติ เรื่อง Legal Framework on ASEAN Mutual Recognition Arrangements (MRAs)

เสวนานานาชาติ เรื่อง Legal Framework on ASEAN Mutual Recognition Arrangements (MRAs)

            เสวนานานาชาติ เรื่อง Legal Framework on ASEAN Mutual Recognition Arrangements (MRAs): The Needs of National Regulatory Change จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 ณ  โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง งานนี้จัดขึ้นโดยสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นละประเด็นท้าทายของความจำเป็นในการพัฒนาปรับกฎระเบียบต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน (MRAs) 8 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก สำรวจ บัญชีและการท่องเที่ยว
            ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนให้เกียรติเป็นองค์ปาฐกถา กล่าวถึงสถานการณ์ของการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะในอาเซียน ซึ่ง ณ ปัจจุบันประเทศในอาเซียนมีความต้องการสูง และมีอัตราการเคลื่อนย้ายภายในอาเซียนขยายตัวขึ้นมาก แรงงานทักษะเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความมั่นคง และเติบโตได้ ทั้งนี้ยังได้ฝากให้ระบบการศึกษาของประเทศไทยต้องเร่งปรับปรุงให้คนไทยมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้       
            ต่อจากนั้นเป็นการเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยจากนักวิจัยฟิลิปปินส์ และไทย เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์มีการส่งออกแรงงานทักษะจำนวนมากที่สุดในอาเซียน โดยส่วนใหญ่ไปทำงานในอเมริกาและยุโรป หาก MRA ที่ได้ตกลงกันแล้วดำเนินการได้อย่างดีก็คาดว่าจะมีแรงงานฟิลิปปินส์ไหลเข้าอาเซียนเพิ่มขึ้น
            ช่วงสุดท้ายเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและประเด็นท้าทายของ 8 วิชาชีพ ในการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งประเทศไทยยังมีหลายประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการเปิดรับการเคลื่อนย้ายแรงงาน เช่น พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวในส่วนของอาชีพสงวน ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้มานานมากแล้ว อย่างไรก็ตามทางกรมแรงงานกำลังออกพระราชกฤษฎีกาในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคของการเข้ามาทำงานของต่างชาติได้ 

โพสต์เมื่อ :
15 พ.ย. 2560 14:03:52
 2883
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์