การรวมธุรกิจ : บริษัท HLB (Thailand) Limited ต้องการจะปรึกษาวิธีการลงบัญชี โดยมีรายละเอียดดังนี้

การรวมธุรกิจ : บริษัท HLB (Thailand) Limited ต้องการจะปรึกษาวิธีการลงบัญชี โดยมีรายละเอียดดังนี้

Q:

การรวมธุรกิจ :

บริษัท HLB (Thailand) Limited ต้องการจะปรึกษาวิธีการลงบัญชี โดยมีรายละเอียดดังนี้

Background

          บริษัท B และ บริษัท T ได้ทำสัญญาโอนกิจการ (Entire Business Transfer Agreement), โดย T จะโอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ B และ B จะออกหุ้นให้แก่ T เป็นการตอบแทน

          สัญญาลงวันที่ 30/9/57,  B เพิ่มทุนวันที่ 15/12/57, สิ้นปีบัญชีวันที่ 31/12/57

          สินทรัพย์และหนี้สินที่โอนมีทั้งที่โอนกรรมสิทธิ์ได้ภายใน 31/12/57 และโอนได้ในปี 2558 จึงต้องการสอบถามว่าการลงบัญชีเพื่อปิดงบวันที่ 31/12/57 ของ B นั้นต้องทำอย่างไร

          Dr. สินทรัพย์ที่โอนกรรมสิทธิ์ได้แล้ว                 ณ 31/12/57

          Dr. สินทรัพย์ที่ยังโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้                ณ 31/12/57

                   Cr. หนี้สินที่โอนกรรมสิทธิ์ได้แล้ว            ณ 31/12/57

                   Cr. หนี้สินที่ยังโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้          ณ 31/12/57

                   Cr. ราคาหุ้นที่ B ออกเพื่อการโอนกิจการ

คำถาม

  1. สินทรัพย์และหนี้สินที่โอนกรรมสิทธิ์ได้ก่อน 31/12/57 เราแยกลงตามรายการด้านบนด้วยราคาตลาดเลยใช่หรือไม่
  2. ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่โอนกรรมสิทธิ์ได้แล้วสามารถตัดจากจำนวนปีที่เหลือเลยจาก T ใช่หรือไม่ หรืออายุจริงที่เหลือจริงประเมินใหม่
  3. สินทรัพย์ที่โอนกรรมสิทธ์ได้หลังจากสิ้นปี 2557 เช่นที่ดิน อาคาร ควรใช้ชื่อบัญชีอะไรเพื่อลงบัญชีไปก่อน ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสินทรัพย์รอการโอน (เนื่องจากมีสัญญาระบุไว้แล้วว่าต้องโอนตามเงื่อนไขการโอน หากเพียงแต่ต้องรอจดหมายยืนยันจากทางสรรพากร เพื่อใช้ยื่นต่อกรมที่ดิน ซึ่งจดหมายเพิ่งเสร็จสิ้นและได้รับในปี 2558) แต่ทางผู้สอบบัญชีต้องการให้ลงเป็นลูกหนี้ค่าหุ้น จึงขอให้ทางสภาฯ ช่วยแนะนำด้วย
  4. ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ที่โอนกรรมสิทธ์ได้หลังจากสิ้นปี 2557 ควรเริ่มตัดค่าเสื่อมเมื่อใด เมื่อ 30/9/57 หรือหลังจากวันที่โอนกรรมสิทธิ์ได้จริง
  5. หนี้สินที่ยังโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ เช่น ในกรณีเงินกู้ หรือ OD ที่ T มีต่อธนาคาร ไม่ได้มีการเปลี่ยนชื่อผู้กู้ หากแต่ภายหลังในปี 2558 B ได้ทำการจ่ายแทนและปิดบัญชีเงินกู้ไป ถามว่าB ควรลงบัญชีอย่างไร ณ ตอนนี้สิ้นปี เช่นสามารถลงเป็นราคาตลาดของหนี้ นั่นคือ ราคาคิดลดของเงินต้นและดอกเบี้ยที่ทาง B ต้องจ่ายแทน T ทั้งหมด หรือลงด้วยเงินต้น ณ.วันที่ 30/9/57 ได้เลยหรือไม่

หากราคาพาร์ของหุ้นที่ออก ไม่เท่ากับมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินสุทธิที่รับโอนหรือจะรับโอน เราสามารถลงเป็นส่วนเกินหรือส่วนต่ำมูลค้าหุ้นได้เลยใช่หรือไม่

(คำถามเดือนมิถุนายน-กันยายน 2558)

A:

          หากบริษัท B เป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และบริษัท T ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกับบริษัท B (บริษัท T ไม่ได้มีผู้บริหารและผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกันกับบริษัท B) บริษัท B ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง การรวมธุรกิจ ซึ่งหลักการรับรู้รายการจะเริ่มต้นที่ย่อหน้าที่ 10 เป็นต้นไปครับ

          แต่หากบริษัท B เป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ สามารถรับรู้รายการตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ โดยพิจารณาตามกรอบแนวคิดที่ว่าสิ่งที่บริษัทได้รับมาเข้ากับคำนิยามสินทรัพย์และหนี้สินหรือไม่

          อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวควรปรึกษาผู้สอบบัญชีที่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวครับ เพราะผู้สอบบัญชีจะเป็นผู้ที่เข้าใจ เข้าถึง และเห็นเนื้อหาของรายการและเอกสารของบริษัทได้

โพสต์เมื่อ :
20 ต.ค. 2560 10:01:00
โดย :
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
22 พ.ย. 2567 23:27:03
โดย :
 3941
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์