การรวมธุรกิจสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หัวข้อ การวิจัยและพัฒนา :
คำถามมีดังนี้ค่ะ
หมายเหตุ บริษัทเข้าร่วม BOI ด้วยค่ะ และเป็นบริษัทต่างชาติ ซึ่งการทดสอบดังกล่าวอาจต้องไปที่ต่างประเทศค่ะ (บริษัทแม่)
สมมติ คนที่คิดและทำการทดสอบเป็นทั้งพนักงานที่อยู่ในไทยและต่างประเทศ หรือ อาจเป็นพนักงานของบริษัทแม่ ซึ่งมีการทดสอบที่ไทยและต่างประเทศ(บริษัทแม่) รายจ่ายที่เกิดขึ้นสามารถเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้หรือไหมค่ะ และต้องทำอย่างไรค่ะ
(คำถามเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2558)
ขอเรียนตอบคำถามโดยอ้างอิงจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ( TFRS for NPAE - หากกิจการของท่านจัดทำงบการเงินแบบ NPAE) และตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (TAS38 - หากกิจการของท่านจัดทำงบการเงินแบบ PAE) ดังนี้
รายจ่ายที่เกิดขึ้นจะสามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเป็นไปตามคำนิยามของการพัฒนาที่เกิดขึ้นภายในบริษัทตาม TFRS for NPAE ย่อหน้าที่ 170 หรือ TAS38 ย่อหน้าที่ 57
(สามารถดูรายละเอียดเนื้อหาใน TFRS for NPAE ย่อหน้า 170.1 ถึงย่อหน้า 170.6 หรือดูรายละเอียดเนื้อหาใน TAS 38 เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ย่อหน้า 57.1 ถึงย่อหน้า 57.6)
ถ้าหากเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้นทุกข้อสามารถรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ แต่ถ้าหากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้นแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าไม่ใช่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนครับ
รับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนด้วยราคาทุนตามต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวข้องโดยตรงของการได้มาซึ่งต้นทุนในการพัฒนาดังกล่าวครับ โดยให้ถือปฏิบัติตามย่อหน้าที่ 178 ของ TFRS for NPAE หรือ ย่อหน้าที่ 66 ของ TAS38
(สามารถดูรายละเอียดเนื้อหาใน TFRS for NPAE ย่อหน้า 178.1 ถึง ย่อหน้า 178.4 หรือดูรายละเอียดเนื้อหาใน TAS 38 เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ย่อหน้า 66.1 ถึงย่อหน้า 66.4)
ต้องตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามย่อหน้าที่ 186-188 ของ TFRS for NPAE หรือย่อหน้าที่ 97 และ 107 ของ TAS38 โดย
หากกิจการใช้ TFRS for NPAE
- กรณีที่ทราบอายุของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างชัดเจน ให้ตัดจำหน่ายตามอายุดังกล่าว
- กรณีที่ไม่ทราบอายุของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างชัดเจน ให้ตัดจำหน่ายด้วยระยะเวลา 10 ปี
หากกิจการใช้ TAS38
- กรณีที่ทราบอายุของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างชัดเจน ให้ตัดจำหน่ายตามอายุดังกล่าว
- กรณีที่ไม่ทราบอายุของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างชัดเจน ไม่ให้ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนดังกล่าว แต่ให้พิจารณาการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนทุกวันสิ้นรอบบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์
การตัดจำหน่ายให้เป็นไปตามลักษณะการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นวิธีเส้นตรง เว้นแต่ว่าวิธีอื่นจะสะท้อนถึงการให้ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์นั้นที่ดีกว่า
การตัดเป็นรายเดือนหรือรายปีให้เป็นไปตามนโยบายและกระบวนการปิดงบการเงินของบริษัท ทั้งนี้ควรเป็นไปตามหลักบัญชีคู่ คือให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามการรับรู้รายได้หรือผลประโยชน์จากการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนดังกล่าวที่เกี่ยวข้อง
หากมีรายจ่ายที่เข้าเกณฑ์ที่ต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ตามข้อ 1) แต่มิได้รับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องพิจารณาก่อนว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นข้อผิดพลาดในอดีตหรือเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการรายจ่ายทางบัญชี เช่น ประมาณการรายจ่ายสูงหรือต่ำไป เป็นต้น หากพบว่าเป็นข้อผิดพลาดในอดีตสำหรับการจัดทำงบการเงินให้ใช้วิธีการปรับย้อนหลัง แต่หากเป็นการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีให้ใช้วิธีการปรับไปข้างหน้าโดยมิต้องปรับย้อนหลังงบการเงิน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของฝ่ายบริหารและให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด
ให้กิจการเปิดเผยสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามย่อหน้าที่ 196-197 ของ TFRS for NPAE หรือ ย่อหน้าที่ 122-125 ของ TAS38 และหากกิจการใช้ TAS38 ให้เปิดเผยรายจ่ายในการวิจัยและพัฒนาที่เกิดขึ้นและรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตามย่อหน้าที่ 126 และ 127 ของ TAS38 เพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัท
หมายเหตุ บริษัทเข้าร่วม BOI ด้วยค่ะ และเป็นบริษัทต่างชาติ ซึ่งการทดสอบดังกล่าวอาจต้องไปที่ต่างประเทศค่ะ (บริษัทแม่)
สมมติ คนที่คิดและทำการทดสอบเป็นทั้งพนักงานที่อยู่ในไทยและต่างประเทศ หรือ อาจเป็นพนักงานของบริษัทแม่
ซึ่งมีการทดสอบที่ไทยและต่างประเทศ(บริษัทแม่) รายจ่ายที่เกิดขึ้นสามารถเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้หรือไหมค่ะ และต้องทำอย่างไรค่ะ
หากรายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นภายในบริษัท (บริษัทเป็นผู้จ่ายเงิน) ให้ยึดหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 และ 2 ในการรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หากไม่เข้าเกณฑ์ตามข้อ 1 ให้รับรู้เป็นรายจ่ายสำหรับงวดที่เกิดขึ้นครับ
ทั้งนี้ให้สอบถามทางผู้สอบบัญชีก่อนอีกครั้งสำหรับการพิจารณาเพื่อรับรู้รายการดังกล่าวครับ