เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า : การจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทร่วม จนเหลือเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย

เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า : การจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทร่วม จนเหลือเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย

Q:

เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า :

การจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทร่วม จนเหลือเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย (Available for sale security) คำถาม 1 ต้องรับรู้เงินลงทุนดังกล่าวด้วยราคาตลาดใช่หรือไม่ คำถาม 2 ผลต่างที่เกิดขึ้นจากราคาตลาดบันทึกเข้ากำไรหรือขาดทุนใช่หรือไม่

(คำถามเดือนมีนาคม 2559)

A:

คำตอบ 1

ตามที่ท่านได้ถามในงาน Thailand IFRS conference กรณีของการจัดทำงบการเงินที่ไม่ใช่งบการเงินเฉพาะกิจการ

          ตามย่อหน้าที่ 22.2 ของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 28 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า กำหนดว่า

          22.2 ถ้าส่วนได้เสียที่เหลืออยู่ในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าเดิมเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการต้องวัดมูลค่าของส่วนได้เสียที่เหลืออยู่นี้ด้วยมูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรมของ ส่วนได้เสียที่เหลืออยู่นี้ จะถือเป็นมูลค่ายุติธรรมสำหรับการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกของ สินทรัพย์ทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้) (หรือมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 เรื่อง เงินลงทุน ซึ่งมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน) และกิจการต้องรับรู้ในกำไรหรือขาดทุนของผลต่าง ระหว่าง

          22.2.1 มูลค่ายุติธรรมของส่วนได้เสียที่เหลืออยู่และผลตอบแทนรับใดๆ จากส่วนได้เสียในบริษัทร่วมหรือการร่วมค้าที่ถูกจำหน่ายออกไป และ 

          22.2.2 ยอดคงเหลือของเงินลงทุน ณ วันที่เลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย 

คำตอบ 2

          ตามย่อหน้าที่ 22.2 ผลต่างดังกล่าวให้รับรู้เข้ากำไรหรือขาดทุน ทั้งนี้ย่อหน้าที่ 23 ยังกำหนดให้รับรู้ผลต่างอื่นที่เคยรับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (OCI)  เข้าสู่กำไรหรือขาดทุนในการรับรู้กำไรหรือขาดทุนในการเลิกใช้วิธีส่วนได้เสียในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามย่อหน้าที่ 22.3 และ 23. ของมาตรฐานฉบับดังกล่าว ดังนี้

          22.3 เมื่อกิจการเลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย กิจการต้องบันทึกบัญชีสำหรับกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนนั้นที่เคยรับรู้ไว้ด้วยหลักเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้เช่นเดียว กัน เสมือนว่าผู้ได้รับการลงทุนได้ทำการจำหน่ายสินทรัพย์ หรือหนี้สินที่เกี่ยวข้องนั้นออกไป 

23. ดังนั้น หากกำไรหรือขาดทุนที่เคยรับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นโดยผู้ได้รับการลงทุน ได้ถูกจัดประเภทใหม่เป็นกำไรหรือขาดทุนเมื่อมีการจำหน่ายสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้อง กิจการต้องจัดประเภทกำไรหรือขาดทุนที่รับรู้ในส่วนของเจ้าของใหม่ให้อยู่ในกำไรหรือขาดทุน (เป็นการจัดประเภทรายการบัญชีใหม่) เมื่อกิจการเลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย ตัวอย่างเช่น หากบริษัทร่วม หรือการร่วมค้ามีผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนสะสมที่เกิดจากการดำเนินงานในต่างประเทศและ กิจการได้เลิกใช้วิธีส่วนได้เสีย กิจการต้องจัดประเภทกำ ไรหรือขาดทุนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานต่างประเทศที่เคยรับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นนั้นใหม่โดยบันทึกไปยังกำไรหรือขาดทุน

          ทั้งนี้ ขอให้ท่านสมาชิกปรึกษาผู้สอบบัญชีของท่านเนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจของท่านและมีข้อมูลที่ครบถ้วนกว่า 

โพสต์เมื่อ :
24 ต.ค. 2560 15:26:32
โดย :
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
15 ม.ค. 2568 21:53:39
โดย :
 10719
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์