มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 :
บริษัทต้องการจะสอบถามเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 โดยมีรายละเอียดดังนี้
Background
บริษัทของผู้สอบถาม เป็นบริษัทจำกัด ทางบริษัทมีการจ้างพนักงาน 2 ประเภท คือ
พนักงานทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะการทำงานที่ต้องปฏิบัติและยึดระเบียบบริษัทเหมือนกัน แต่สวัสดิการบางอย่างพนักงานสัญญาจ้างฯจะไม่ได้รับเหมือนกับพนักงานประจำ แต่พนักงานสัญญาจ้างฯจะถูกระบุสวัสดิการที่จะได้รับในสัญญาจ้างอย่างชัดเจน
ซึ่งโดยปกติทั่วไป การจัดทำเงินเดือนเป็นเรื่องของฝ่ายบุคคลเป็นผู้ดำเนินการ แต่สำหรับพนักงานสัญญาจ้างนั้นทางแผนกบัญชีเป็นผู้ดำเนินการ จ่ายเงินค่าจ้างเป็นเช็ค โดยฝ่ายบัญชีแจ้งว่าพนักงานกลุ่มนี้ไม่สามารถนำเข้ารายชื่อระบบเงินเดือนของบริษัทได้เนื่องจากผิดมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 และยังแจ้งว่าทางผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทแนะนำว่าไม่ควรนำเข้าระบบเงินเดือน
คำถาม
กรณีที่มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดทำเงินเดือน ในส่วนของระบบการจ่ายเงินเดือนพนักงานสามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง และเจ้าหน้าที่บัญชีที่ยังไม่เข้าใจในรายละเอียดของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 จะมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง
(คำถามเดือนมิถุนายน-กันยายน 2560)
กิจการต้องพิจารณาก่อนว่าใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใด
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวิธีการบัญชีและการเปิดเผยข้อมูลของผลประโยชน์ของพนักงาน มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้
1.1 หนี้สิน เมื่อพนักงานได้ให้บริการเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ของพนักงานที่บริษัทจะจ่ายในอนาคต และ
1.2 ค่าใช้จ่าย เมื่อกิจการได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่เกิดจากการให้บริการของพนักงานเป็นการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ของพนักงาน
ดังนั้นมาตรฐานฯฉบับดังกล่าวจึงระบุถึงเพียงวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่ใช้ในการรับรู้หนี้สินและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพนักงานในการจัดทำรายงานทางการเงิน โดยบริษัทมีความรับผิดชอบที่ต้องประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ที่คาดว่าจะต้องจ่ายชำระให้แก่พนักงานทุกคนในบริษัท บริษัทต้องพิจารณาว่าบุคคลใด คือ พนักงานของบริษัทที่มีโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์ของพนักงาน ซึ่งประเภทของผลประโยชน์พนักงานได้รวมถึงเงินเดือนและค่าจ้าง ดังที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 5 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19
นอกจากนี้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ย่อหน้าที่ 5 ได้กำหนดประเภทของผลประโยชน์พนักงาน 4 ประเภท ดังนี้
5.1 ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน เช่น ผลประโยชน์ดังต่อไปนี้ที่คาดว่าจะจ่ายชำระ ทั้งจำนวนก่อน 12 เดือนหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจำปีที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง
5.1.1 ค่าจ้าง เงินเดือน และเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
5.1.2 เงินที่จ่ายสำหรับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีและการลาป่วย
5.1.3 ส่วนแบ่งกำไรและโบนัส และ
5.1.4 ผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พักอาศัย ค่ายานพาหนะ และสินค้าหรือบริการที่ให้เปล่าหรือในลักษณะอุดหนุน) สำหรับพนักงานปัจจุบัน
5.2 ผลประโยชน์หลังออกจากงาน เช่น ผลประโยชน์ดังต่อไปนี้
5.2.1 ผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน (เช่น บำนาญ ผลประโยชน์ที่จ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน) และ
5.2.2 ผลประโยชน์อื่นหลังออกจากงาน เช่น ประกันชีวิตหลังออกจากงาน และ ค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน
5.3 ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน เช่น ผลประโยชน์ดังต่อไปนี้
5.3.1 การลางานระยะยาวที่ยังได้รับผลตอบแทน เช่น การให้ลางานระยะยาวหลังจากทำงานเป็นระยะเวลานาน หรือการลาในปีที่ได้รับยกเว้นการทำงาน
5.3.2 ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการทำงานครบ 50 ปี หรือผลประโยชน์อื่นที่จ่ายจาก การทำงานเป็นระยะเวลานาน และ
5.3.3 ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการทุพพลภาพเป็นระยะเวลานาน และ
5.4 ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง
ทั้งนี้ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีของกิจการซึ่งเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในข้อเท็จจริงมากกว่า เพื่อให้ได้รับคำตอบที่ถูกต้องยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้สอบบัญชีต้องเข้าใจในธุรกิจของท่าน