การบันทึกบัญชี และการจัดทำงบการเงิน :
บริษัท A ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง บริษัท B ขายวัสดุก่อสร้าง ทั้ง บริษัท A และ บริษัท B มีผู้บริหารและผู้ถือหุ้นคนเดียวกัน บริษัท B สร้างโกดังเก็บสินค้า โดยใช้คนงานของบริษัท A และบริษัท A มีการบันทึกบัญชีดังนี้
Dr. ลูกหนี้บริษัท B 105,000.00
Cr. ค่าแรงงานค้างจ่าย 95,000.00
ประกันสังคมค้างจ่าย 10,000.00
เมื่อเรียกเก็บเงินจากบริษัท B บันทึกบัญชี โดย
Dr. ลูกหนี้บริษัท B 115,720.50
Cr. ลูกหนี้บริษัท B 105,000.00
ภาษีขาย 7,570.50
รายได้ 3,150.00
Dr. ลูกหนี้ บริษัท B 20,000.00
ภาษีซื้อ 1,400.00
Cr. เจ้าหนี้ 21,400.00
เมื่อเรียกเก็บเงินคืนจากบริษัท B
Dr. ลูกหนี้บริษัท B 22,042.00
Cr. ลูกหนี้บริษัท B 20,000.00
ภาษีขาย 1,442.00
รายได้ 600.00
Dr. Cr.
ลูกหนี้ 137,762.50
ภาษีซื้อ 1,400.00
เจ้าหนี้ 21,400.00
ค่าแรงค้างจ่าย 95,000.00
ประกันสังคมค้างจ่าย 10,000.00
ภาษีขาย 9,012.50
รายได้ 3,750.00
รายได้ 3,750.00
ต้นทุน 0.00
กำไรขั้นต้น 3,750.00
ประเด็นสอบถาม
ถ้าการกระทำของบริษัท A ผิด มีความผิดฐานใด และจะต้องแก้ไขอย่างไร
(คำถามเดือนกันยายน-ตุลาคม 2560)
เช่น กรณีมีบริษัท A มีค่าแรงงานเกิดขึ้น และเป็นพนักงานของบริษัท A บริษัท A จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ในกรณีที่ จะไปเรียกเก็บจากบริษัท B ถือว่ารายการดังกล่าวเป็นรายได้ของบริษัท A และบริษัท A ต้องพิจารณารับรู้รายได้จากการให้บริการดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ดังนั้น ต้องบันทึกรายการทั้งสองแยกต่างหากจากกัน เช่น
Dr. ค่าแรงจ่าย
Cr. ค่าแรงค้างจ่าย
Dr. ลูกหนี้บริษัท B
Cr. รายได้จากการให้บริการ
เมื่อบริษัท A ได้เช่ารถมาจากบริษัทเช่ารถ และใบเสร็จออกในนามบริษัท A บริษัทฯจะต้องรับรู้รายการเช่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าดำเนินงานตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเช่า หรือมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ บทที่ 14 และในกรณีที่บริษัท A เรียกเก็บรายได้จากการให้บริษัท B นำรถที่บริษัท A เช่ามานั้นไปใช้ต่อ บริษัท A จะต้องรับรู้รายการดังกล่าวแยกจากกัน
งบกำไรขาดทุนคืองบที่แสดงผลการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย รายได้ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้นให้นำรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมารวมในงบกำไรขาดทุน โดยอ้างอิงตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
“ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน หากการลงบัญชีไม่ถูกต้องตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน/มาตรฐานการบัญชี ผู้ทำบัญชีต้อง ซึ่งมาตรา 34 กำหนดโทษสำหรับผู้กระทำความผิดโดยปรับไม่เกิน 10,000 บาท’’
ดังนั้น ผู้ทำบัญชีจึงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานฯที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ขอให้ท่านสอบถามผู้สอบบัญชีของกิจการซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีข้อมูลที่มากกว่า เพื่อให้ได้รับคำตอบที่ถูกต้องยิ่งขึ้น