การบันทึกบัญชี :
หรือนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักจากกำไรแสดงเป็นกำไรสุทธิ คือไม่บันทึกค่าใช้จ่ายในการขายหุ้นเลย (เงินจากขายหุ้นทั้งหมด – เงินลงทุน – ค่าใช้จ่าย = กำไร)
(คำถามเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2560)
1. การรับรู้รายการ เนื่องจากปัจจุบันมาตรฐานการรายงานทางการเงินไม่มีการกำหนดหลักปฏิบัติสำหรับกิจการที่ไม่ใช่กิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุนไว้อย่างแน่ชัดว่ากิจการควรจะรับรู้รายการการขายเงินลงทุนหรือการลงทุนในตราสารหนี้ด้วยวันที่ใดระหว่างวัน trade date หรือ วัน settlement date ทั้งนี้ จึงขึ้นอยู่กับนโยบายการบัญชีที่กิจการเลือกใช้ โดยกิจการต้องเลือกใช้วิธีการรับรู้รายการดังกล่าวด้วยวิธีเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม หากมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ได้มีการประกาศใช้ในประเทศไทย รายการดังกล่าวจะมีการระบุหลักปฏิบัติไว้ว่ากิจการควรรับรู้รายการอย่างไร
อ้างอิง : ร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน ย่อหน้าที่ ข3.1.3 ระบุว่า
“ตามวิธีปกติในการซื้อหรือการขายสินทรัพย์ทางการเงิน กิจการจะรับรู้รายการ ณ วันที่ทำรายการหรือ วันที่มีการจ่ายชำระ ตามที่ระบุในภาคผนวกย่อหน้าที่ ข3.1.5 และ ข3.1.6 กิจการต้องใช้วิธีปฏิบัติ แบบเดียวกันอย่างสม่ำ เสมอสำหรับการซื้อและการขายสินทรัพย์ทางการเงินทั้งหมดที่ถูกจัดประเภท แบบเดียวกันตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้”
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ย่อหน้าที่ 38 และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ย่อหน้าที่ 118 ระบุว่า
"ในการจําหน่ายเงินลงทุน กิจการต้องบันทึกผลต่างระหว่างสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับกับมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนเป็นกําไร (ขาดทุน) ทันทีที่เกิดรายการ"
สิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับคือสิ่งตอบแทนทั้งหมดที่ได้รับหักด้วยที่ต้องจ่ายเพื่อให้รายการเกิดขึ้น ดังนั้น กิจการต้องรับรู้กำไร(ขาดทุน)จากรายการจำหน่ายเงินลงทุนดังกล่าวโดยสุทธิด้วยเงินที่ต้องจ่ายไปเพื่อให้เกิดรายการ
ทั้งนี้ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีของกิจการ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจมากกว่า และพิจารณาลักษณะของกิจการว่าควรใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใด เพื่อให้ได้รับคำตอบที่ถูกต้องยิ่งขึ้น