อื่นๆ : ขอเรียนถามเรื่อง มีการตรวจพบภายหลังว่าบันทึกบัญชีในปี 2558 ผิดพลาดไป ดังนี้

อื่นๆ : ขอเรียนถามเรื่อง มีการตรวจพบภายหลังว่าบันทึกบัญชีในปี 2558 ผิดพลาดไป ดังนี้

Q:

อื่นๆ : ขอเรียนถามเรื่อง มีการตรวจพบภายหลังว่าบันทึกบัญชีในปี 2558 ผิดพลาดไป ดังนี้

ข้อ 1

 ปี 2558 ซื้อเครื่องจักรมาผลิตในเดือน 4 โดยชำระค่าเครื่องจักรทั้งหมดเป็น เช็คจ่ายล่วงหน้าให้กับบริษัทขายเครื่องจักร และใช้สิทธินำภาษีซื้อหักภาษีขายแล้ว              แต่เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินไม่พอ หลังจากนั้นเดือนถัดมา เดือน 5 จึงนำเครื่องจักร  ไปจัดไฟแนนซ์แบบลิสซิ่ง FINANCIAL LEASE บริษัทจึงต้องทำการออกใบกำกับภาษีขายให้กับบริษัท LEASING ในราคาเท่ากับที่ซื้อมา และบริษัท LEASING ทำการโอนจ่ายเงินยืมให้ทางบริษัท โดยเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารเรียบร้อย

ต่อมา ปี 2560 ตรวจพบข้อผิดพลาดในการบันทึกบัญชีรับเงินยืมจากบริษัท LEASING ดังนี้

เดือน 5 ปี 2558 เมื่อออกใบกำกับขาย

  1. DR. ลูกหนี้ 107 บาท
  2. CR. รายได้                        100 บาท (ราคสมมติ)

              ภาษีขาย                         7 บาท

 

เดือน 5 ปี 2558 เมื่อได้รับเงินปล่อยกู้จาก LEASING

  1. DR. เงินฝากธนาคาร    107 บาท
  2. DR. เงินสด                                  107 บาท  

      *บันทึก DR ซ้ำซ้อน บัญชีเงินสดเกิดยอดเกินมา*

      CR. ลูกหนี้                                                    107 บาท

ข้อ 2

พบว่าบัญชีลูกหนี้ตั้งแต่เดือน 7-12 ของปี 2558 ไม่มีการบันทึกบัญชีรับชำระเงินจากลูกหนี้เลยทำให้ยอดบัญชีเงินสดขาดหายไป เป็นผลทำให้ยอดบัญชีลูกหนี้คงค้างสูงกว่าความเป็นเป็นจริง

จึงอยากรบกวนขอคำแนะนำในการแก้ไขข้อผิดพลาด เนื่องจากทำการขึ้นทะเบียน จัดทำบัญชีเล่มเดียวผ่านมา 2 ปีแล้ว แต่งบการเงินปี 2558 ยังมีความผิดพลาดอยู่ ทำอย่างไรให้งบการเงินมีความถูกต้อง ต้องแจ้งกับหน่วยงานใดบ้าง หรือดำเนินการอย่างไร  ให้งบการเงินกลับมาถูกต้อง

(คำถามเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2560)

A:

         กรณีที่กิจการพบข้อผิดพลาดในการจัดทำงบการเงิน ท่านต้องแก้ไขรายการบัญชีดังกล่าวให้ถูกต้องและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงโดย

         ท่านต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ย่อหน้าที่ 41 และ 49 ในกรณี         ที่ท่านเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะย่อหน้าที่ 65 ถึง 70 ในกรณีที่กิจการท่านเป็น     กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

         ทั้งนี้ขอให้ท่านสอบถามผู้สอบบัญชีของกิจการซึ่งเป็นผู้ที่มีข้อมูลและความเข้าใจในบริษัทท่านมากกว่า เพื่อให้ได้รับคำตอบที่ถูกต้องยิ่งขึ้น

โพสต์เมื่อ :
25 ธ.ค. 2560 14:43:57
โดย :
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
22 พ.ย. 2567 19:48:45
โดย :
 3486
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์