นักบัญชีวิชาชีพอาเซียน

นักบัญชีวิชาชีพอาเซียน




คุณสมบัติ

เอกสารหลักฐาน

ขั้นตอน
ผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) (ผู้ขอขึ้นทะเบียนฯ) ต้องมีคุณ สมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant) พ.ศ. 2559



ผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) (ผู้ขอขึ้นทะเบียนฯ) ต้องยื่นคำขอพร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนฯ และต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารหลักฐานทุกฉบับ โดยยื่นผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น



ผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) (ผู้ขอขึ้นทะเบียนฯ) ต้องดำเนินการตามขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน ตั้งแต่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ถึงการได้รับใบรับรองการเป็นนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA)





   การรักษาสถานภาพใบรับรอง ASEAN CPA

1. ชำระค่าใบรับรองนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) เป็นรายปี (ก่อนสิ้นปี) 
2. คงคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน ASEAN Chartered Professional Accountant) พ.ศ. 2559
รายละเอียดเพิ่มเติม Click

   ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง

1. ระเบียบสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน ASEAN Chartered Professional Accountant) พ.ศ. 2559 Click
2. ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 4/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน Click
3. ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 5/2560 เรื่อง ค่าคำขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียนและค่าใบรับรองของนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน Click
4. ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 13/2565 เรื่อง หลักเกณฑ์การทดสอบของผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน Click




            นักบัญชีวิชาชีพอาเซียน หมายถึง นักบัญชีวิชาชีพที่ถือสัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน และมีคุณสมบัติตามระเบียบสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant) พ.ศ. ๒๕๕๙ สำหรับการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) ในประเทศไทย
            ทั้งนี้ นักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) จะประกอบวิชาชีพนักบัญชีได้ ตามกิจกรรมที่อยู่ภายใต้ Central Product Classification – CPC รหัส 862 (Accounting, Auditing and Bookkeeping Services) ขององค์กรสหประชาชาติ ซึ่งครอบคลุมงานบริการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบัญชี แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการลงนามในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการให้บริการทางบัญชีอื่นที่กำหนดว่าต้องมีใบอนุญาตภายในประเทศ

สภาวิชาชีพบัญชีในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่

  • ขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant: ASEAN CPA) สำหรับนักบัญชีวิชาชีพไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศ และ
  • ขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพต่างด้าวจดทะเบียน (Registered Foreign Professional Accountant: RFPA) สำหรับนักบัญชีวิชาชีพต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยปัจจุบัน สภาวิชาชีพบัญชีอยู่ระหว่างเตรียมการเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพต่างด้าว (RFPA) โดยสรุปขั้นตอนสำคัญในการประกอบวิชาชีพวิชาชีพบัญชีในประเทศอาเซียนได้ ดังนี้


ขั้นตอนที่เกิดขึ้นจากประเทศต้นกำเนิด

  • ขั้นที่ 1 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือนักบัญชีที่ผ่านการทดสอบตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ ๑๓/๒๕๖๕ เรื่อง หลักเกณฑ์การทดสอบของผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน และมีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน ASEAN Chartered Professional Accountant) พ.ศ. ๒๕๕๙
  • ขั้นที่ 2 สมัครในระบบออนไลน์ และชำระค่าคำขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) จำนวน 500 บาท
  • ขั้นที่ 3 คณะกรรมการกำกับดูแล (Monitoring Committee: MC) ตรวจสอบคำขอขึ้นทะเบียนและเอกสารหลักฐานของผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA)
  • ขั้นที่ 4 คณะกรรมการกำกับดูแล (MC) เสนอชื่อผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีอาเซียนต่อคณะกรรมการประสานงานด้านวิชาชีพบัญชีแห่งอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant Coordinating Committee: ACPACC) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากคณะกรรมการกำกับดูแลของ 10 ประเทศอาเซียนร่วมกันพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA)
  • ขั้นที่ 5 คณะกรรมการประสานงานด้านวิชาชีพบัญชีแห่งอาเซียน (ACPACC) อนุมัติการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) และออกใบรับรอง ASEAN CPA ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีจะแจ้งผลต่อการพิจารณาให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียนชำระค่าใบรับรอง ASEAN CPA ปีละ 2,000 บาท
                เมื่อดำเนินการจบทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ เสมือนกับการขอ "พาสปอร์ต (Passport)" จากสภาวิชาชีพบัญชีเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
                รายชื่อของนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) ทุกคนจะแสดงที่เว็บไซต์ www.aseancpa.org และนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) ที่ขึ้นทะเบียนของประเทศไทย สภาวิชาชีพบัญชีจะแสดงที่เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี www.tfac.or.th ซึ่งบุคคลเหล่านี้ คือ ผู้ที่พร้อมในการเคลื่อนย้ายไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่นและยินยอมจะปฏิบัติตามกฎระเบียบ

ขั้นตอนที่เกิดขึ้นจากประเทศผู้รับ
            เมื่อนักบัญชีวิชาชีพอาเซียนมีนักบัญชีที่ประเทศผู้รับเข้ารับให้ทำงานร่วมแล้ว นักบัญชีวิชาชีพอาเซียนผู้นั้นสามารถแสดงหลักฐานเพื่อขอจดทะเบียนเป็นนักบัญชีวิชาชีพต่างด้าว (Registered Foreign Professional Accountant : RFPA) ที่หน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแลวิชาชีพบัญชีประเทศผู้รับได้
            ในขั้นตอนนี้เทียบได้กับการขอ "วีซ่า (Visa)" จากประเทศผู้รับเพื่อให้สามารถเข้าไปทำงานในประเทศผู้รับได้โดยต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของประเทศผู้รับ และต้องไม่เป็นการประกอบวิชาชีพบัญชีโดยลำพัง แต่ต้องทำงานร่วมกับนักบัญชีวิชาชีพท้องถิ่นของประเทศผู้รับนั้น ๆ
            โดยแสดงภาพขั้นตอนสำคัญในการประกอบวิชาชีพวิชาชีพบัญชีในประเทศอาเซียนได้ ดังนี้



โพสต์เมื่อ :
19 ต.ค. 2560 14:48:05
 153665
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์