คุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
หลักฐานประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน ASEAN CPA |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
การทดสอบของผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน ASEAN CPA |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน ASEAN CPA |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
APPLICATION FOR ASEAN CHARTERED PROFESSIONAL ACCOUNTANT (ASEAN CPA) |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
การชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุสมาชิก ASEAN CPA |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น ASEAN CPA |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
ทั้งนี้ นักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) จะประกอบวิชาชีพนักบัญชีได้ ตามกิจกรรมที่อยู่ภายใต้ Central Product Classification – CPC รหัส 862 (Accounting, Auditing and Bookkeeping Services) ขององค์กรสหประชาชาติ ซึ่งครอบคลุมงานบริการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบัญชี แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการลงนามในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการให้บริการทางบัญชีอื่นที่กำหนดว่าต้องมีใบอนุญาตภายในประเทศ
สภาวิชาชีพบัญชีในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant: ASEAN CPA) สำหรับนักบัญชีวิชาชีพไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศและการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพต่างด้าวจดทะเบียน (Registered Foreign Professional Accountant: RFPA) สำหรับนักบัญชีวิชาชีพต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดย สภาวิชาชีพบัญชีกำลังเตรียมการเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพต่างด้าว (RFPA) ควบคู่กันไปด้วย โดยสามารถสรุปขั้นตอนที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพวิชาชีพบัญชีในประเทศอาเซียนได้ ดังนี้
ขั้นตอนที่เกิดขึ้นจากประเทศต้นกำเนิด
ขั้นที่ 1 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือนักบัญชีที่ผ่านการทดสอบตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ ๓/๒๕๖๐ เรื่อง หลักเกณฑ์การทดสอบของผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน และมีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน ASEAN Chartered Professional Accountant) พ.ศ. ๒๕๕๙
ขั้นที่ 2 สมัครในระบบออนไลน์ และชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท (ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับปี พ.ศ. 2560 – 2561)
ขั้นที่ 3 คณะกรรมการกำกับดูแล (Monitoring Committee: MC) ตรวจสอบใบสมัครและเอกสารหลักฐานของผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA)
ขั้นที่ 4 คณะกรรมการกำกับดูแล (MC) เสนอชื่อผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีอาเซียนต่อคณะกรรมการประสานงานด้านวิชาชีพบัญชีแห่งอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Accountant Coordinating Committee: ACPACC) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากคณะกรรมการกำกับดูแลของ 10 ประเทศอาเซียนร่วมกันพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA)
ขั้นที่ 5 คณะกรรมการประสานงานด้านวิชาชีพบัญชีแห่งอาเซียน (ACPACC) อนุมัติการขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) ซึ่งทางสภาวิชาชีพบัญชีจะแจ้งผลต่อการพิจารณาต่อผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียนเพื่อชำระค่าธรรมเนียมใบรับรองปีละ 2,000 บาท (ยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับปี พ.ศ. 2560 – 2561)
เมื่อดำเนินการจบทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ เสมือนกับการขอ "พาสปอร์ต (Passport)" จากสภาวิชาชีพบัญชีเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
รายชื่อของนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) ทุกคนจะแสดงที่เว็บไซต์ www.acpacc.org และนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) ที่ขึ้นทะเบียนที่สภาวิชาชีพบัญชี จะแสดงที่เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th นักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA) เหล่านี้คือบุคคลที่พร้อมในการเคลื่อนย้ายไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่นและยินยอมจะปฏิบัติตามกฏระเบียบ
ขั้นตอนที่เกิดขึ้นจากประเทศผู้รับ
ขั้นที่ 1 เมื่อนักบัญชีวิชาชีพอาเซียนมีนักบัญชีที่ประเทศผู้รับเข้ารับให้ทำงานร่วมแล้ว นักบัญชีวิชาชีพอาเซียนผู้นั้นสามารถแสดงหลักฐานเพื่อขอจดทะเบียนเป็นนักบัญชีวิชาชีพต่างด้าว (Registered Foreign Professional Accountant : RFPA) ที่หน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแลวิชาชีพบัญชีประเทศผู้รับได้
ในขั้นตอนนี้เทียบได้กับการขอ "วีซ่า (Visa)" จากประเทศผู้รับเพื่อให้สามารถเข้าไปทำงานในประเทศผู้รับได้โดยต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของประเทศผู้รับ และต้องไม่เป็นการประกอบวิชาชีพบัญชีโดยลำพัง แต่ต้องทำงานร่วมกับนักบัญชีวิชาชีพท้องถิ่นของประเทศผู้รับนั้น ๆ
ระเบียบและประกาศสภาวิชาชีพบัญชี
การคงไว้ซึ่งใบรับรอง ASEAN CPA