สรุปการประชุม World Standard-setters Conference 2019 เมื่อวันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2562 ณ กรุงลอนดอน

สรุปการประชุม World Standard-setters Conference 2019 เมื่อวันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2562 ณ กรุงลอนดอน

หน่วยงานกำหนดมาตรฐานการบัญชีทั่วโลกจากหลายประเทศจำนวนกว่า 70 ประเทศได้เข้าร่วมการประชุม World Standard-setters Conference 2019 ที่จัดขึ้นในวันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรม Hilton London Canary Wharf ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งในการประชุมปีนี้มีการหารือถึงความร่วมมือในการกำหนดมาตรฐานการบัญชี และ Update ภาพรวมกิจกรรมและความคืบหน้าการดำเนินงานล่าสุดของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) ซึ่งภายในงาน Mr. Hans Hoogervorst ประธาน IASB ได้กล่าวว่า


            Against the backdrop of increased geopolitical friction, where the recent G7 meeting couldn’t even agree on a common statement, our standard-setting community provides an excellent example of what can be achieved when people from all parts of the world work together towards a common goal.


ในการประชุมปีนี้มีการอภิปรายครอบคลุมในหลายหัวข้อ โดยมีทั้งการอภิปรายในรูปแบบ Panel discussion และ Breakout session เช่น

  • Primary Financial Statement
  • Impairment and Goodwill
  • Rate-regulated Activities
  • The review of the IFRS for SMEs Standard
  • Electronic reporting and the importance of IFRS Taxonomy


            สภาวิชาชีพบัญชีในฐานะองค์กรวิชาชีพบัญชีของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของ IFRS Foundation นำโดย รศ. ดร.สมชาย สุภัทรกุล ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ผศ. ดร.สันสกฤต วิจิตรเลขการ กรรมการคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ร่วมด้วย ดร.ศรายุทธ เรืองสุวรรณ ประธานคณะทำงานประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ในประเทศไทย ได้เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม World Standard-Setters Conference 2019 ในครั้งนี้ ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้แทนหน่วยงานกำหนดมาตรฐานการบัญชีทั่วโลก โดยหัวข้อหลักที่น่าจะมีผลกระทบต่อกิจการในประเทศไทยในอนาคตมี 2 หัวข้อ ได้แก่ (1) Primary Financial Statements และ (2) Goodwill and Impairment

Primary Financial Statements
            สาระสำคัญของหัวข้อนี้คือในอนาคตงบกำไรขาดทุนอาจมีการแสดงแยกตามกิจกรรมทำนองเดียวกับงบกระแสเงินสด ได้แก่ Operating activities, Investing activities และ Financing activities โดยนิยามให้ Operating profit หมายถึง Profit from continuing operations before tax and before (1) Share of profit of integral associates and joint ventures (2) Investing activities และ (3) Financing activities
            ทั้งนี้ Operating profit ควรแสดงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมจากธุรกิจหลักของกิจการ โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงความไม่ปกติ (Unusual) ของรายการ ในขณะที่ Investing activities ควรแสดงถึงผลตอบแทนจากการลงทุนที่แยกต่างหากและเป็นอิสระจากทรัพยากรอื่นของกิจการ เช่น Changes in the fair value of financial assets, Dividend income และ Share of profit of non-integral JVs and associates เป็นต้น และ Financing activities ควรแสดงถึงรายได้และค่าใช้จ่ายจากสินทรัพย์และหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุน เช่น Interest income from cash and cash equivalents, Expenses from financing activities, Unwinding of discount on pension liabilities and provisions เป็นต้น

ดังนั้น ในงบกำไรขาดทุนจะแสดงยอด Subtotals ที่แตกต่างไปจากงบกำไรขาดทุนในปัจจุบัน ดังนี้

  1. Operating profit
  2. Operating profit and share of profit or loss of integral associates and JVs ได้แก่ Operating profit บวกด้วย Share of profit of integral associates and JVs
  3. Profit before financing and income tax ได้แก่ ยอดที่ (2) บวก/หัก ด้วยรายการของ Investing activities เช่น Changes in the fair value of financial assets, Dividend income และ Share of profit of non-integral JVs and associates เป็นต้น
  4. Profit before tax ได้แก่ ยอดที่ (3) บวก/หัก ด้วยรายการของ Financing activities เช่น Interest income from cash and cash equivalents, Expenses from financing activities, Unwinding of discount on pension liabilities and provisions เป็นต้น
สำหรับงบกระแสเงินสด จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เช่น Interest and Dividend paid จากเดิมสามารถเลือกแสดงเป็น Operating หรือ Financing จะเปลี่ยนเป็นต้องจัดเป็น Financing เท่านั้น ในขณะที่ Interest and Dividend received จากเดิมสามารถเลือกแสดงเป็น Operating หรือ Investing จะเปลี่ยนเป็นต้องจัดเป็น Investing เท่านั้น
            นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้จัดทำ Management Performance Measures (MPMs) ซึ่งอาจเป็นตัวเลขกำไรที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการตามมุมมองของผู้บริหารซึ่งแตกต่างจากกำไรที่ปรากฎในงบกำไรขาดทุน พร้อมกับการแสดงรายการกระทบยอดระหว่าง MPM กับกำไรจากการดำเนินงานที่ปรากฎในงบกำไรขาดทุนในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ต้องรอติดตาม Exposure Draft ในอนาคตอันใกล้

Goodwill and Impairment
            IASB ได้รับฟังปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับ Goodwill Impairment รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ Goodwill Amortization มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จึงได้พิจารณาระหว่าง amortization of Goodwill Vs. Impairment-only Model แล้วมี Preliminary Views ว่า “Do not reintroduce amortization of goodwill” และ “Present total equity before goodwill in balance sheet” แต่นี่เป็นแค่ Preliminary Views เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการผ่อนคลายจากการทดสอบเชิงปริมาณ (Quantitative Test) เกี่ยวกับการด้อยค่าของค่าความนิยมที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี จึงมีการเสนอแนวคิดใหม่อีกแนวคิดหนึ่งคือ Indicator-only Approach นั่นคือให้ทำการทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยมเมื่อมีข้อบ่งชี้ โดยไม่ต้องทดสอบการด้อยค่าเป็นประจำทุกปีเหมือน Impairment-only Model แบบในปัจจุบัน ประเด็นนี้ก็คงต้องติดตามผลการศึกษาจาก Discussion Paper ในอนาคตต่อไป

โดย..รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สุภัทรกุล
ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์


โพสต์เมื่อ :
15 เม.ย. 2563 15:25:21
 1570
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์