ถึงเวลาที่เราจะนำ Remoting Audit มาใช้กันหรือยัง ?

ถึงเวลาที่เราจะนำ Remoting Audit มาใช้กันหรือยัง ?

            จากสถานการณ์โควิด-19 (COVID-19) ที่ทวีความรุนแรงและแพร่กระจายไปทั่วโลก วงการแพทย์ได้ออกมาแนะนำให้ใช้มาตรการป้องกันหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ Social Distance (การรักษาระยะห่าง) โดยให้ทุกคนอยู่บ้านให้มากที่สุด ทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ผู้เขียนจึงคิดถึงผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชีว่า ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ไหม จะสามารถตรวจสอบบัญชีจากที่บ้านของแต่ละคนได้ไหม และจำเป็นไหมที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบที่สถานประกอบการของลูกค้า
            จากการที่ได้เข้าไปอ่านบทความต่าง1ๆ1บนโลก Online พบบทความหนึ่งที่น่าสนใจที่จะมาเขียนเล่าสู่กันอ่านบทความนี้เขียนโดย Bill Curtis เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.accountingtoday.com เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 คือปลายปีที่แล้วก่อนที่จะมีข่าว Covid-19 ไม่นาน
            บทความนี้ได้กล่าวถึง Remote Audit ว่าทำไมผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชีและทีมตรวจสอบควรพิจารณาการใช้ Remote Team ในปีหน้า คำว่า “Remote Audit” หมายถึง การตรวจสอบโดยที่ไม่ได้เข้าไปตรวจสอบ ณ สถานประกอบการของลูกค้า แต่สามารถเก็บรวบรวมหลักฐานต่าง1ๆ1อย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อการแสดงความเห็นต่อข้อมูลในงบการเงิน ดังนั้น ความเป็นไปได้ของการนำ Remote Audit มาใช้ในการตรวจสอบงบการเงินจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้าถึงเอกสารและหลักฐานการสอบบัญชีหรือไม่ กล่าวคือ หากเอกสารหลักฐานประกอบงบการเงินของกิจการอยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ หรือสามารถสื่อสารและแปลงเอกสารในรูปของกระดาษให้อยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลและส่งให้ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบ หรือผู้สอบบัญชีสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ โดยไม่ต้องเข้าไปที่กิจการของลูกค้าได้ การประชุมกับลูกค้าหรือการสัมภาษณ์จะดำเนินการผ่านการประชุมออนไลน์ (Video Conference) เช่น การใช้โปรแกรม Zoom โปรแกรม Window Meeting ฯลฯ การทำ Remote Audit ก็อาจเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้ผู้สอบบัญชีต้องสามารถมั่นใจได้ว่า การเข้าถึงแหล่งข้อมูล เอกสารหลักฐานต่าง ๆ เป็นไปอย่างครบถ้วนและถูกต้อง ความเร็วหรือความสามารถในการรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถรองรับได้ และต้องใช้ Data-Analytic เข้ามาเพื่อวิเคราะห์หรือระบุสัญญาณหรือข้อบ่งชี้ของสิ่งผิดปกติ และนำไปวางแผนและดำเนินการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กรณีที่ผู้สอบบัญชีกำลังตัดสินใจใช้ Remote Audit สิ่งที่ผู้สอบบัญชีควรพิจารณาประกอบการตัดสินใจ ได้แก่

1. เอกสารหลักฐานมีความถูกต้อง ครบถ้วน เกี่ยวข้อง และน่าเชื่อถือหรือไม่ มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 500 เรื่อง หลักฐานการสอบบัญชี ได้กำหนดไว้ว่า ผู้สอบบัญชีต้องออกแบบและใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอต่อการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงความเกี่ยวข้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่จะใช้เป็นหลักฐานการสอบบัญชี ทั้งนี้ความน่าเชื่อถือของข้อมูลจะรวมถึงความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูล
2. โอกาสที่จะถูกคุกคามจาก Cyber หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การทำ Remote Audit จะต้องใช้การรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีความเสี่ยงของการถูกขโมยข้อมูล หรือข้อมูลของลูกค้าถูกเผยแพร่หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากลูกค้า สิ่งต่าง1ๆ1เหล่านี้เป็นความเสี่ยงของผู้สอบบัญชี1 เพราะจะกระทบต่อความเชื่อมั่นในวิชาชีพสอบบัญชี
3. ความพร้อมของอุปกรณ์ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การรับส่งข้อมูล รวมถึงการประชุมทางไกล จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงความสามารถในการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ หากการเชื่อมต่อล้มเหลวหรือไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ข้อมูลที่จะนำมาเป็นหลักฐานการสอบบัญชีขาดความน่าเชื่อถือ และไม่สามารถนำมาสนับสนุนการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีได้ 
4. ตารางเวลาที่ต้องมีความยืดหยุ่นตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องมีการประชุมทางไกลร่วมกัน เวลาที่สามารถประชุมร่วมกันต้องตรงกัน หากมีคนใดคนหนึ่งไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในทีมตรวจสอบหรือลูกค้าติดประชุมอื่นหรือไม่สะดวก ทุกคนที่เหลือจะต้องเลื่อนการประชุมออกไป สิ่งที่ตามมาคือ การควบคุมระยะเวลาในการตรวจสอบให้เป็นไปตามแผนและตรงตามกำหนดเวลาที่ตกลงกับลูกค้า

            อย่างไรก็ตาม การใช้ Remote Audit สามารถทดแทนวิธีการตรวจสอบแบบเดิม (Traditional Audit) ได้จริงหรือ การเข้าสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าสามารถทำออนไลน์ได้จริงหรือ เป็นสิ่งที่น่านำมาพิจารณา และหากไม่สามารถใช้ Remote Audit ในสถานการณ์ปัจจุบัน และไม่สามารถเข้าไปเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานการสอบบัญชีที่สถานประกอบการของลูกค้าได้ หรือไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีคงต้องพิจารณาว่าสถานการณ์ปัจจุบันคือการถูกจำกัดขอบเขตโดยสถานการณ์ และผลกระทบนั้นมีสาระสำคัญและแผ่กระจาย ส่งผลต่อการแสดงความเห็นต่องบการเงินแบบที่เปลี่ยนไปของผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 705 (ปรับปรุง) การแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เอกสารอ้างอิง
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 500 หลักฐานการสอบบัญชี
มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 705 (ปรับปรุง) การแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
Curtis, Bill. 2019, “Voices Why you and your audit team should consider a remote audit next year”, Accounting Today, access www.accountingtoday.com on April 3, 2020
Tysiac, Kem. 2020, “Remote auditing comes to forefront during pandemic”, Journal of Accountancy, access
www.journalofaccountancy.com on April 3, 2020


โดย..ผศ. ดร.จุฑาทิพ อัสสะบำรุงรัตน์
อนุกรรมการมาตรฐานด้านการสอบบัญชีและเทคนิคการสอบบัญชี


โพสต์เมื่อ :
5 พ.ค. 2563 11:32:37
 9129
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์