เมื่อวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18.00-22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย (06.00 น.-10.00 น. ตามเวลามหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา), International Federation of Accountants (IFAC) จัดการประชุมสามัญประจำปี 2563 ผ่าน Zoom Application ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพบัญชีจากทั่วโลกมากกว่า 240 คน คุณวินิจ ศิลามงคล ประธานคณะกรรมการวิชาชีพด้านสอบบัญชีและ ดร. ฐาน์รตี มุขดี นักวิชาการด้านต่างประเทศ เป็นตัวแทนสภาวิชาชีพบัญชีเข้าร่วมประชุมดังกล่าว IFAC คือสหพันธ์นักบัญชีระหว่างประเทศ ประกอบด้วยองค์กรสมาชิกสามัญและองค์กรสมาชิกสมทบจาก 175 องค์กรใน 130 ประเทศทั่วโลก เป็นตัวแทนของนักบัญชีมากกว่า 3 ล้านคนทั่วโลก ในการนี้นายกสหพันธ์ นายอินคี-จู ได้กล่าวเปิดประชุมพร้อมทั้งแนะนำคณะกรรมการ IFAC ชุดใหม่ที่ผ่านการเสนอชื่อเข้ามา รวมทั้งแนะนำนายแอลัน จอห์นสัน นายกสหพัน์คนใหม่ที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่งในปีหน้า
|
|
“กว่า 4 ทศวรรษที่ IFAC ดูแลส่วนได้เสียสาธารณะและ
ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทั่วโลก ผมไม่ลังเลใจที่เราจะดำรงไว้ ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ แม้ความไม่แน่นอนเกินจะควบคุมได้จะเข้ามา ทั้งในชีวิตส่วนตัวและในวิชาชีพของเรา” - อินคี-จู นายก IFAC (2562-2563)
|
|
นายเควิน ดาซี่ ผู้บริหารสูงสุด กล่าวรายงานความคืบหน้า
การดำเนินงานและทิศทางข้างหน้าของ IFAC โดยได้ให้ข้อคิด ในการปรับตัวใหเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน คือ ปี 2563 เป็นปีแห่งความท้าทาย ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ การเปลี่ยนแปลง แบบก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมและต่อด้วย โรคโควิด 19 ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึง |
|
ความท้าทายที่ไม่เคยคาดการณ์มาก่อน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพจิตอันเกิดจากการเว้นระยะห่างทางกายภาพ การกักตัว ท่ามกลางวิกฤตที่หนักหนาสาหัสนั้นก็มีเรื่องน่ายินดีเป็นมุมมองบวกเกิดขึ้น คนในวิชาชีพบัญชีสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ ด้วยการ “ตอบสนองอย่างรวดเร็ว” คือปรับตัวทันที เพื่อที่จะรักษาประโยชน์ประชาชน สังคม เศรษฐกิจของชุมชนและประเทศที่พวกเขาอยู่ IFAC ก็พยายามอย่างเต็มที่ในการจัดหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำรายงานทางการเงินและการสร้างความเชื่อมั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤตโควิด19 โดยทาง IFAC ได้รับข้อมูลผ่านการสำรวจความต้องการของสมาชิก ตลอดช่วงเวลาวิกฤต IFAC ยังยกระดับการติดต่อสื่อสารกับประเทศสมาชิกโดยใช้การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นออนไลน์ มีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับทุกประเทศสมาชิกและหน่วยงานด้านการบัญชีชั้นนำของโลก สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้า IFAC ไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกคน |
|
การประชุม IFAC Council ยังเปิดให้ผู้เข้าร่วมประชุมลงมติออนไลน์
โดยการยืนยันตัวตนและคลิกลงคะแนนเสียง องค์ประชุม ยังประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการมาตรฐานการสอบบัญชี และการให้ความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ (IAASB) ประธาน คณะกรรมการจรรยาบรรณระหว่างประเทศ สำหรับนักบัญชี (IESBA) |
|
คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีของภาครัฐระหว่างประเทศ (IPSASB), องค์กรกำกับดูแลระหว่างประเทศ (PIOB), คณะกรรมการส่วนได้เสียสาธารณะ (PIC), ผู้นำกลุ่ม Global IFRS, ผู้บริหารคณะกรรมการกำกับดูแลส่วนได้เสียสาธารณะ (PIC), ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน IFAC และวิทยากรชั้นนำในระดับโลก มานำเสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน และให้ความรู้กับผู้เข้าประชุม พร้อมตอบคำถามแบบสดๆ โดยภาพรวมแล้ว ได้มุ่งเน้นการสร้างเสริมสมรรถนะของนักบัญชีทั่วโลกให้การปรับตัวในยุคโควิด19, การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคการบัญชีดิจิตัล โดยที่วิชาชีพบัญชีนั้นยังคงสามารถปกป้องส่วนได้เสียของสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสภาวิชาชีพบัญชีจะเผยแพร่ความรู้จากการประชุมดังกล่าวในโอกาสต่อไป |
|
นาย ทอมัส ซีเดนสเตน (ภาพบนขวา) ประธาน IAASB ได้นำเสนอเป้าหมายและวัตุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของคณะกรรมการมาตรฐานสอบบัญชีระหว่างประเทศ 3 ข้อตามภาพด้านล่าง |
|
IAASB ได้อนุมัติมาตรฐานการจัดการคุณภาพชุดใหม่ 3 มาตรฐานสำหรับผู้สอบบัญชีทั่วโลก ได้แก่ ISQM1, ISQM2 และ มาตรฐานการตรวจสอบ ISA 200 (ฉบับปรับปรุง) ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายปี 2564 โดย IAASB กำลังจัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติ เพื่อให้สมาชิกทั่วโลกสามารถเข้าถึงมาตรฐานได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของสำนักงานสอบบัญชีในการจัดการคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ |
|
นายสตัฟวโรส โธมาดาคิส ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ
ระหว่างประเทศสำหรับนักบัญชี (IESBA) บรรยายสรุป ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ โดยได้กล่าวว่า IESBA กำลังพัฒนาปรับปรุงรายละเอียดในแง่มุมต่าง เช่น บทบาทและวิธีคิดของนักบัญชี ความหมายของ คำว่ากิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ |
|
ผลกระทบจากเทคโนโลยีที่มีต่อความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี การวางแผนภาษี ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงมาตรฐานจรรยาบรรณให้มีความเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบในทางปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น E-Code หรือ จรรยาบรรณอิเล็กทรอนิคก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ IESBA กำลังพัฒนาโอกาสในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ โดยเฟส 2 ของโครงการเริ่มขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2563 |
|
cloudThing
นายบิล วิลสัน ผู้อำนวยการฝ่ายไอทีของสมาคมนักบัญชีชาร์เตอร์ด
แห่งอังกฤษและเวลส์ (ICAEW) ได้มาเล่าการปรับตัวสู่ยุคดิจิตัลว่า ที่ ICAEW ได้เริ่มโครงการ cloudThing เพื่อเชื่อมโยงการทำงาน ย้ายฐานข้อมูลไปไว้บนระบบคลาวด์แล้ว เพื่อประสิทธภาพการ ให้บริหารในอนาคต ทาง IFAC จึงขอเชิญชวน ให้ประเทศสมาชิกทั่วโลก เตรียมความพร้อมสู่ยุคดิจิตทัลนี้ผ่าน |
|
|
|
อีกมุมมองหนึ่งซึ่งผู้นำองค์กรที่ออกมาตรฐาน ได้ประกาศต่อสาธารณชนไปในทิศทางเดียวกัน คือ การเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG) ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ IFAC, IAASB และ IFRS Global ยังเรียกร้องให้มีคณะกรรมการมาตรฐานความยั่งยืน (Sustainability Standard Board, ISSB) ควบคู่ไปกับคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี (IASB) ทั้งนี้เพื่อตอบคำถามตามความต้องการของนักลงทุน, ผู้ออกนโยบายและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เกี่ยวกับระบบการจัดทำรายงานทางการเงิน ที่ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เนื่องจาก IASB ยังคงต้องพุ่งเป้าไปที่การจัดทำรายงานทางการเงิน ความสอดคล้องกันกับ ISSB จะช่วยลดความทับซ้อนและช่องว่าง เช่น มุมมองด้านการบริหาร อย่างไรก็ตามการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสถาบันระดับโลก เช่น IOSCO คือปัจจัยหรือของความสำเร็จการก่อตั้ง ISSB สำหรับมุมมองและประเด็นทางการบัญชีในเรื่องดังกล่าว สภาวิชาชีพจะนำเสนอให้ท่านทราบในโอกาสต่อไป การประชุม IFAC Council 2020 ได้จบลงอย่างงดงามด้วยพันธกิจร่วมกัน 3 ด้าน คือ 1. บทบาทของนักบัญชีในภาวะโควิด19 2. การปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิตัล และ 3. รายงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประธานอินคี-จู กล่าวปิดการประชุมท่ามกลางความหวังของประเทศสมาชิกว่า ในปีหน้า 2564 เราจะสามารถเดินทางกลับมาพบกันแบบ face-to-face ได้อีกครั้ง |