“กว่า 4 ทศวรรษที่ IFAC ดูแลส่วนได้เสียสาธารณะและผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทั่วโลก ผมไม่ลังเลใจที่เราจะดำรงไว้ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ แม้ความไม่แน่นอนเกินจะควบคุมได้จะเข้ามาทั้งในชีวิตส่วนตัวและในวิชาชีพของเรา” - อินคี-จู นายก IFAC (2562-2563) |
|
นายเควิน ดาซี่ ผู้บริหารสูงสุด กล่าวรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานและทิศทางข้างหน้าของ IFAC โดยได้ให้ข้อคิดในการปรับตัวใหเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน คือ ปี 2563 เป็นปีแห่งความท้าทาย ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ การเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมและต่อด้วยโรคโควิด 19 ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึง |
ความท้าทายที่ไม่เคยคาดการณ์มาก่อน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงผลกระทบด้านสุขภาพจิตอันเกิดจากการเว้นระยะห่างทางกายภาพ การกักตัว ท่ามกลางวิกฤตที่หนักหนาสาหัสนั้นก็มีเรื่องน่ายินดีเป็นมุมมองบวกเกิดขึ้น คนในวิชาชีพบัญชีสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ ด้วยการ “ตอบสนองอย่างรวดเร็ว” คือปรับตัวทันที เพื่อที่จะรักษาประโยชน์ประชาชน สังคม เศรษฐกิจของชุมชนและประเทศที่พวกเขาอยู่ IFAC ก็พยายามอย่างเต็มที่ในการจัดหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำรายงานทางการเงินและการสร้างความเชื่อมั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤตโควิด19 โดยทาง IFAC ได้รับข้อมูลผ่านการสำรวจความต้องการของสมาชิก ตลอดช่วงเวลาวิกฤต IFAC ยังยกระดับการติดต่อสื่อสารกับประเทศสมาชิกโดยใช้การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นออนไลน์ มีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับทุกประเทศสมาชิกและหน่วยงานด้านการบัญชีชั้นนำของโลก สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้า IFAC ไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกคน
การประชุม IFAC Council ยังเปิดให้ผู้เข้าร่วมประชุมลงมติออนไลน์โดยการยืนยันตัวตนและคลิกลงคะแนนเสียง องค์ประชุมยังประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการมาตรฐานการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ (IAASB) ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณระหว่างประเทศสำหรับนักบัญชี (IESBA) |
คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีของภาครัฐระหว่างประเทศ (IPSASB), องค์กรกำกับดูแลระหว่างประเทศ (PIOB), คณะกรรมการส่วนได้เสียสาธารณะ (PIC), ผู้นำกลุ่ม Global IFRS, ผู้บริหารคณะกรรมการกำกับดูแลส่วนได้เสียสาธารณะ (PIC), ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน IFAC และวิทยากรชั้นนำในระดับโลก มานำเสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน และให้ความรู้กับผู้เข้าประชุม พร้อมตอบคำถามแบบสดๆ โดยภาพรวมแล้ว ได้มุ่งเน้นการสร้างเสริมสมรรถนะของนักบัญชีทั่วโลกให้การปรับตัวในยุคโควิด19, การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคการบัญชีดิจิตัล โดยที่วิชาชีพบัญชีนั้นยังคงสามารถปกป้องส่วนได้เสียของสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสภาวิชาชีพบัญชีจะเผยแพร่ความรู้จากการประชุมดังกล่าวในโอกาสต่อไป
นาย ทอมัส ซีเดนสเตน (ภาพบนขวา) ประธาน IAASB ได้นำเสนอเป้าหมายและวัตุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของคณะกรรมการมาตรฐานสอบบัญชีระหว่างประเทศ 3 ข้อตามภาพด้านล่าง
IAASB ได้อนุมัติมาตรฐานการจัดการคุณภาพชุดใหม่ 3 มาตรฐานสำหรับผู้สอบบัญชีทั่วโลก ได้แก่ ISQM1, ISQM2 และ มาตรฐานการตรวจสอบ ISA 200 (ฉบับปรับปรุง) ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายปี 2564 โดย IAASB กำลังจัดทำคู่มือและแนวปฏิบัติ เพื่อให้สมาชิกทั่วโลกสามารถเข้าถึงมาตรฐานได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของสำนักงานสอบบัญชีในการจัดการคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่