“(6) เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้ของบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล”
|
ก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2560 กรมสรรพากรได้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 10/2528 ซึ่งวินิจฉัยว่า เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับอาญา ที่เกิดจากความผิดตามกฎหมายประมวลรัษฎากรเท่านั้นที่จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้นำมาคำนวณเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีอากร แต่หลังจากมีคำพิพากษาฎีกาที่ 1109/2559 วินิจฉัยว่า ค่าปรับอาญาและเงินเพิ่มภาษีอากรตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่ค่าปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น แต่รวมถึงค่าปรับที่เป็นโทษทางอาญาและเงินเพิ่มภาษีอากรตามกฎหมายอื่นด้วย
หลังจากมีคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรจึงมีการประชุมหารือและออกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 40/2560 เรื่อง เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับอาญาตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฏากร สั่ง ณ วันที่ 9 มีนาคม 2560 โดยให้ยกเลิกคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 10/2528 ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และกำหนดให้เบี้ยปรับ และหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญาตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร ให้หมายความรวมถึงเบี้ยปรับ และหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญาตามกฎหมายภาษีอากรทุกประเภท โดยพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากรและค่าปรับทางอาญาเป็นการลงโทษผู้กระทำผิด จึงไม่ควรให้นำมาลงเป็นรายจ่ายทางภาษีอีก เพราะจะเป็นการสนันสนุนบุคคลผู้กระทำความผิด
ตัวอย่าง บริษัท ก จำกัด มีกำไรสุทธิจากการประกอบกิจการตามบัญชีเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท ดังมีรายละเอียดดังนี้คือ