สวัสดีท่านผู้อ่านและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งกับสรุปสาระสำคัญจากการเสวนา “ความท้าทายของผู้ตรวจสอบกับเทคโนโลยี AI และ Blockchain” โดยการเสวนาครั้งนี้ สภาวิชาชีพบัญชียังคงได้รับเกียรติ จากวิทยากรที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์หลากหลายท่านเหมือนเช่นเคย ได้แก่ คุณมานิต พาณิชย์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Chief Audit Executive ธนาคารยูโอบี จำกัด มหาชน คุณวารุณี ปรีดานนท์ หุ้นส่วนที่ปรึกษาการบริหารความเสี่ยงและการตรวจสอบภายใน บริษัท ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด
จากประสบการณ์ที่ ดร.รอม เคยเป็นกรรมการระบบชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงขอให้ท่านช่วยกรุณาอธิบายว่า AI และ BC ในทรรศนะของท่านเป็นอย่างไรครับ?
ผมเห็นว่า Blockchain ไม่ใช่สิ่งลวง แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาระบบแบบเดิม ซึ่งต้องอาศัยคนกลางหลายชั้นได้จริง จึงทำให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งนี้ Blockchain เป็นหนึ่งใน Distributed Ledger Technology (DLT) คือ เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะเอื้อให้สมาชิกในเครือข่าย สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสานงาน และทำธุรกรรมระหว่างกันได้โดยตรง ทุกคนในเครือข่ายจะถือข้อมูลที่เหมือนกันทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง นอกจากนี้ยังสามารถนำสัญญาอัจฉริยะ (Smart contract) มาประยุกต์ในการกำหนดเงื่อนไขของสัญญา ที่ต้องปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตัวอย่างของเทคโนโลยี DLT รุ่นแรก คืออินเทอร์เน็ต สำหรับ Blockchain ถือเป็น DLT รุ่นที่สอง เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจง่าย และ ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ กรรมการในคณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยได้รับเกียรติจาก คุณเสนีย์ วัชรศิริธรรม กรรมการตรวจสอบ สถาบันการพยาบาลศรีวรินทิรา สภากาชาดไทย และนายกสมาคม ISACA เป็นวิทยากรผู้ดำเนินรายการโดยได้เริ่มต้นการเสวนาด้วยคำถามแรก ดังนี้
Blockchain มีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ DIST