บทนำ ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และในอัตราที่รวดเร็วขึ้น มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาอย่างไม่หยุดนิ่ง อาทิ Artificial Intelligence (AI), Machine Learning, Robotic Process Automation (RPA), Cloud Computing, Internet of Things (IoT) และ Cognitive Technology เป็นต้น จนทำให้เกิด Disruption ในการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ การใช้ชีวิตประจำวัน และวิธีการทำงานของแต่ละสายอาชีพอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้ภูมิศาสตร์การแข่งขันในธุรกิจมีการเปลี่ยนรูปแบบด้วยเช่นกันการชี้วัดความสามารถในการแข่งขันจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “ขนาด” หรือ “เสถียรภาพ” อีกต่อไป แต่จะเป็นเรื่องของ “ความเร็ว” ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกลยุทธ์ในการดำเนินธรุกิจ และวิธีการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ที่จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการรักษาความสามารถในการแข่งขันต่อไปในอนาคต ดังนั้นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของบุคลากรในแต่กลุ่มอาชีพจะเป็นประเด็นที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญมากขึ้น ส่งเสริมและขับเคลื่อนให้องค์กรมีวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ต่อไป |
||||
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพสายงานการเงินและบัญชีเองนั้น เป็นสายอาชีพที่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้พัฒนาทักษะใหม่ในหน้าที่การงานอย่างมากที่สุด เนื่องจากเป็นสายงานที่จะมีแน้วโน้มการทดแทนแรงงานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เป็นอันดับต้น ๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้า ด้วยภาพลักษณ์ที่เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่เป็นงานลักษณะ Routine เพื่อเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์หรือเป็นเพียงแค่หน่วยงานสนับสนุนธุรกิจเท่านั้น แม้แต่ผู้บริหารระดับสูงสุดในสายงานการเงินอย่าง CFO เอง ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทในองค์กรให้มีความรู้และทักษะใหม่นอกเหนือจากบริหารทางการเงินวางแผนการพัฒนาเส้นทางอาชีพและส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะใหม่แก่บุคลากรให้มีความพร้อมต่อวิธีการทำงานในบทบาทใหม่ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจต่อไปได้ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็นเรื่อง Big Dataเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ปัจจุบันมีเครื่องมือที่สามารถเก็บข้อมูลทางธุรกิจได้อย่างมากมายในหลากหลายมิติ และมีบริษัทที่พยายามแปลงสภาพองค์กรของตนให้เป็น Data Driven Organizationมากขึ้น โดยที่ต้องมีกลยุทธ์การพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรอย่างทั่วถึง มีแผนการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ด้วยประเด็นนี้เอง บุคลากรสายงานการเงินและบัญชี ซึ่งมีทักษะในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนองค์กรให้เป็น Data Driven Organizationอย่างแท้จริง และมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาความรู้และทักษะการทำงานใหม่เพื่อยกระดับขีดความสามารถขององค์กรให้มีความพร้อมที่จะเติบโตต่อไป ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา อะไรคือการ Upskilling และ Reskilling ? อะไรคือ Skillset ที่จำเป็นสำหรับ CFO และนักบัญชีต่อไปในอนาคต ? |
8 ทักษะที่ CFO และนักบัญชีควรมีในอนาคต | ||||||
แรงงานดิจิทัล (Digital Labour) |
CFO และนักบัญชีจะต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการ “แรงงานดิจิทัล” ผ่านการทำงานของ AI, RPA และ Machine Learning เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารองค์กร | |||||
ความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) |
CFO และนักบัญชีต้องตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจสร้างความเสียหายทางการเงินแก่องค์กร ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบต้นทุนและผลประโยชน์ และปลูกฝังจิตสำนึกด้าน Cybersecurity ในองค์กรเพื่อบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ได้อย่างยั่งยืน | |||||
ผู้นำการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis Leadership) |
CFO และนักบัญชีจะต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจนอกเหนือจากการเงินได้ เช่น ข้อมูลพฤติกรรมและการตัดสินใจของผู้บริโภค และคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด | |||||
ความร่วมมือระหว่างสายงาน (Cross-functional Collaboration) |
เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่จะช่วยให้ข้อจำกัดในการทำงานระหว่างสายงานลดลงดังนั้น CFO และนักบัญชีจะต้องเป็นตัวกลางในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสายงานเปรียบเสมือนที่ปรึกษาทางธุรกิจขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีความพร้อมในการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ | |||||
ทักษะด้านอารมณ์และสังคม (Soft Skills) |
CFO และนักบัญชีต้องมีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สามารถนำเสนอข้อมูลซับซ้อนให้บุคคลจากต่างสายงานเข้าใจได้ จึงจำเป็นต้องมีทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการสื่อสาร การกระชับสัมพันธไมตรีกับผู้มีส่วนได้เสียและการเจรจาต่อรองก็ตาม | |||||
ทักษะด้านบรรษัทภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG Skills) |
ประเด็น ESG จะเป็นหัวข้อที่นักลงทุนให้ความสนใจกับบริษัทมากขึ้นในอนาคต บทบาทของ CFO และนักบัญชีซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์มาโดยตลอดจะต้องเป็นผู้ร่วมกำหนดและพัฒนากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร ควบคู่ไปกับคณะกรรมการด้านความยั่งยืน | |||||
ความเข้าใจภาพใหญ่องค์กร (Broader Picture) |
CFO และนักบัญชีจะต้องเข้าใจภาพใหญ่ของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศการดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นแรงผลักดันในการศึกษาหาโอกาสการลงทุนใหม่ให้แก่องค์กรได้ | |||||
ความเข้าใจด้านเทคโนโลยี ในปัจจุบันและอนาคต (Understanding Present and Future Technologies) |
CFO และนักบัญชีจะต้องมีไหวพริบในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคตที่จะสามารถรองรับขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น ลดภาระการทำงานด้วยมือ กระจายทรัพยากรไปในงานวิเคราะห์และงานที่เพิ่มมูลค่าของบริษัทได้มากขึ้น เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันต่อไปในระยะยาว | |||||
ที่มา: Economic Times CFO (ETCFO.com) | ||||||
จะดำเนินการ Upskilling และ Reskilling บุคลากรอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ ? การ Upskilling และ Reskilling บุคลากรในองค์กรนั้นสามารถทำได้ทันที ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณหรือการลงทุนขนาดใหญ่ตั้งแต่แรก แต่จะต้องมีการวางแผนการฝึกฝนทักษะการทำงานและความรู้ใหม่อย่างชัดเจน สร้าง Roadmap การพัฒนาทักษะและมอบหมายบทบาทหน้าที่แตกต่างจากเดิม ยิ่งในยุคหลัง COVID-19 ที่มีการปฏิบัติงานจากนอกสถานที่ทำงานได้บุคลากรจะสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ได้ยืดหยุ่นมากขึ้น ผสมผสานเวลาทำงานและการเรียนรู้ให้กลมกลืนกับชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ โดยองค์กรต้องมีระบบการติดตามความคืบหน้าและทดสอบสิ่งที่เรียนรู้มาอย่างชัดเจน ที่สำคัญกระบวนการดังกล่าวไม่ใช่การทำครั้งเดียวจบ แต่จะต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ หล่อหลอมวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัด เพราะทุกวันนี้มีความรู้และทักษะใหม่ให้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา |
||||||
ปิดท้ายบทความ เอกสารอ้างอิง |
โดย นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ |