• Home

  • ข่าวสาร

  • Newsletter

  • หลักการและตัวอย่างแนวทางการตรวจสอบประมาณการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินตาม TFRS 9

หลักการและตัวอย่างแนวทางการตรวจสอบประมาณการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินตาม TFRS 9

  • Home

  • ข่าวสาร

  • Newsletter

  • หลักการและตัวอย่างแนวทางการตรวจสอบประมาณการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินตาม TFRS 9

หลักการและตัวอย่างแนวทางการตรวจสอบประมาณการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินตาม TFRS 9

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน เหลือเวลาอีกเพียงหนึ่งเดือน กิจการที่ใช้ TFRSs ก็จะต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานกลุ่มเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลารายงานที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 มาตรฐานกลุ่มดังกล่าวกำหนดหลักการเกี่ยวกับการจัดประเภทและการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรม หรือราคาทุนตัดจำหน่ายโดยพิจารณาจากประเภทของตราสารทางการเงิน ลักษณะของกระแสเงินสดตามสัญญาและแผนธุรกิจของกิจการ (Business Model) หลักการเกี่ยวกับวิธีการคำนวณการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน โดยใช้แนวคิดของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (“Expected Credit Loss: ECL”) และหลักการเกี่ยวกับการบัญชีป้องกันความเสี่ยง รวมถึงการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเครื่องมือทางการเงิน
            ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง คือ การประเมินการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินโดยใช้แนวคิดของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (“ECL”) ตาม TFRS 9 เช่นการประเมินค่าเผื่อการด้อยค่าเงินให้กู้ยืมนั้นสามารถทำได้ทั้ง (ก) ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 12 เดือน (“12-month ECLs”) ซึ่งหมายถึงผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นถ้ามีการผิดนัดชำระหนี้ 12 เดือนนับจากวันที่ในรายงาน หรือ (ข) ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุสัญญา (“Lifetime ECLs”) ซึ่งหมายถึงผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นถ้ามีการผิดนัดชำระหนี้ตลอดอายุสัญญา โดย Lifetime ECLs จะสามารถใช้ได้ก็ต่อเมื่อความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันที่รับรู้รายการเมื่อเริ่มแรก ซึ่งการประเมินว่าความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญหรือไม่ (บางครั้งเรียกว่า “การจัดชั้น”) อาจต้องใช้ข้อมูล วิธีการรวมถึงการคำนวณที่มีความซับซ้อน นอกจากนี้ การวัดมูลค่าของค่าเผื่อการด้อยค่าจะต้องคำนึงถึงการถัวเฉลี่ยด้วยความน่าจะเป็นที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (“Probability-Weighted Outcome”) มูลค่าของเงินตามเวลา (“Time Value of Money”) และข้อมูลที่ดีที่สุดที่สามารถหาได้เกี่ยวกับข้อมูลคาดการณ์อนาคต (“Forward Looking Information”) ด้วย
Post Date :
15 Apr 2020 14:33:32
 19770
Visitor
Create a website for free Online Stores