นักบัญชีกับโรคยอดฮิต “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)”

นักบัญชีกับโรคยอดฮิต “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)”

            “ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” เชื่อว่านักบัญชีทุกท่านคงจะเคยได้ยินชื่อของโรคนี้กันมาบ้างแล้ว กลุ่มอาการ“ออฟฟิศซินโดรม” เป็นคำที่คุ้นหูมากขึ้นกว่าในอดีต หากเรามองย้อนกลับไป 5-6 ปีที่แล้ว เรื่องนี้อาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องใหม่และไม่ค่อยมีคนกล่าวถึง แต่ในปัจจุบัน อาการออฟฟิศซินโดรมได้กลายเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่ถึงขั้นพบคนทำงานออฟฟิศเป็นโรคเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรมอย่างน้อย 1 ใน 10 เลยทีเดียว
            ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออริยาบท จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการชาบริเวณแขน มือ และปลายนิ้วเนื่องอาจเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

อาการของออฟฟิศซินโดรม

  1. ปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถบอกตำแหน่งที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจน โดยผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการปวดร้าวไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายได้ อาการปวดอาจมีน้อยไปหามากซึ่งมักจะทำให้เกิดความรำคราญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือในขณะปฏิบัติงาน
  2. อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือรวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป


การป้องกันเพื่อลดปัญหาออฟฟิศซินโดรม

            การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรมประกอบด้วยหลายปัจจัย และทุกสาเหตุมีความสำคัญที่นำมาซึ่งอาการปวด ดังนั้นจึงขอแนะนักบัญชีถึงวิธีการป้องกันแต่ละวิธีจะมีส่วนช่วยให้ท่านมีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากอาการปวด โดยการป้องกันนี้เป็นตัวอย่างที่จะแนะนำเพื่อลดการเกิดปัญหาออฟฟิศซินโดรม

1. ควรมีการปรับเปลี่ยนท่าทางอริยาบทเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
2. ไม่ทำงานในท่าทางอริยาบทเดิมนานเกิน 50 นาทีหากมีความจำเป็นต้องทำต่อเนื่องควรหยุดพักสัก 10-15 นาที
3. ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงานที่จำเป็นเพื่อลดการบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติงาน
4. เตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องใช้งานหนักการยืดกล้ามเนื้อก่อน ระหว่าง และหลังจากการทำงานในแต่ละวัน

 

Post Date :
7 Aug 2020 14:42:25
 5711
Visitor
Create a website for free Online Stores