นักบัญชีทุกท่านทราบเป็นอย่างดีว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องมีการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชีเมื่อได้กำไรสุทธิทางบัญชีแล้ว ในการจะนำกำไรสุทธิมาคำนวณภาษีจะต้องมีการปรับปรุงให้เป็นกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมายภาษีก่อน ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวนี้ เกิดจากความแตกต่างของมาตรฐานการบัญชีและภาษีในการรับรู้รายได้และรายจ่าย โดยหลัก ๆ ของความต่างดังกล่าวเกิดจาก
ในที่นี้จะกล่าวถึงความต่างในข้อที่ 4 เป็นรายจ่ายที่หักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้มากกว่าที่จ่ายจริงซึ่งในทางบัญชีจะรับรู้รายจ่ายตามหลักฐานการจ่ายจริงเพียงเท่านั้น ในทางภาษีจึงต้องทำการปรับปรุงกำไรสุทธิทางภาษีโดยการหักรายจ่ายเพิ่มตามที่กฎหมายภาษีอนุญาต รายจ่ายในทางภาษีที่หักได้มากกว่าหนึ่งเท่าของที่จ่ายจริงมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงระยะเวลาที่ภาครัฐจะมีมาตรการให้มีการจ่ายเงินประเภทใดก็จะมีกฎหมายให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีโดยให้หักรายจ่ายได้มากกว่าจ่ายจริงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
สำหรับรายจ่ายการบริจาคเพื่อการศึกษานั้นกรมสรรพากรมีการออกพระราชกฤษฎีกาให้หักเป็นรายจ่ายได้สองเท่ามาเป็นระยะ ๆ ในเดือนกันยายน 2563 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 บัญญัติให้การบริจาคเพื่อการศึกษาของนิติบุคคลสามารถหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่าสำหรับการบริจาคในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 และการบริจาคต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
นอกจากการให้หักเป็นรายจ่ายได้สองเท่าในด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วเพื่อเป็นการจูงใจให้มีการสนับสนุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงบัญญัติให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับการบริจาคเงิน หรือทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษาในกรณีดังกล่าวอีกด้วย
แนวปฎิบัติที่นักบัญชีควรทราบ
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 กรมสรรพากรได้มีการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 24 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคให้แก่สถานศึกษาผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้การบริจาคเป็นทรัพย์สินหรือสินค้าของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้