สำนักงาน ปปง. ได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่..) พ.ศ. ....แล้วเสร็จและอยู่ระหว่างรอมติ ครม. อนุมัติ ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านการทำบัญชีหรือด้านการสอบบัญชี ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดให้ “ผู้ประกอบอาชีพ” ที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งประกอบอาชีพผู้ทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี
เป็นผู้รายงาน “ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย” ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
กระทําขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือธุรกรรม
ที่เกี่ยวข้องหรือ
อาจเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดมูลฐานหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการทําธุรกรรมเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง และให้หมายความรวมถึงการพยายามกระทําธุรกรรมดังกล่าวด้วย
2.โดยนิติบุคคลที่ให้บริการด้านการทำบัญชีหรือด้านการสอบบัญชี จะต้องดำเนินการให้เป็นไปปฏิบัติตาม ร่าง พระราชบัญญัติ ปปง. ดังกล่าว โดยมีหน้าที่ในการรายงาน ดังนี้
(1) การจัดให้ลูกค้าแสดงตน
(2) การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (CDD) ต้องมีการตรวจสอบลูกค้าว่ามีรายชื่อเป็นบุคคลที่ถูกกำหนด ในรายชื่อของสหประชาชาติหรือสำนักงาน ปปง หรือไม่ (UN Sanction list หรือ Thailand Sanction list) โดยมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้
2.1 การจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติด้านกฎหมายฟอกเงิน
2.2 การประเมินความเสี่ยงภายในองค์กร
2.3 การประเมินและบริหารความเสี่ยงของลูกค้า
2.4 การควบคุมภายในและนโยบายสำหรับสาขาหรือบริษัทในเครือ
(3) รายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
(4) เก็บรักษาข้อมูล
(5) การปฏิบัติตามกฎหมาย CTPF
(กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงิ แก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Anti-Money Laundering and Counter-Terrorism and Proliferation of Weapon of Mass Destruction Financing : AML/CTPF)